Page 83 -
P. 83

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               พลวัตของความยากจน



                4.1     กล่าวนำ





                     งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะความเป็นพลวัตของ
               ความยากจน รวมทั้งกระบวนการและปัจจัยที่ทำให้เกิดพลวัตของความยากจน และโดยเฉพาะ
               อย่างยิ่งกรณีศึกษาของประเทศไทยในฐานะเป็นประเทศที่ได้รับการยอมรับว่าประสบความสำเร็จ

               อย่างมากในการลดความยากจน การทำความเข้าใจถึงสาเหตุของการทำให้ความยากจนลดลง
               สามารถพิจารณาได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นเพราะการที่ทำให้จำนวนคนจนออกจากความ
               ยากจนได้มากขึ้น หรือการป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยงที่คนจะกลับเข้าสู่ความยากจน หรือการลด
               ความรุนแรงของระดับความยากจนลงได้ จากการศึกษาวิจัยในหลายประเทศที่พัฒนาแล้วและ
               ประเทศกำลังพัฒนา พบว่าการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะพลวัตของความยากจนถือว่ามีความสำคัญ

               อย่างมากต่อการกำหนดนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน เนื่องจากประเภทความยากจน
               หรือแต่ละกลุ่มของคนจนมีความต้องการความช่วยเหลือทางด้านนโยบายที่แตกต่างกันออกไป
               ดังนั้น การสร้างความรู้ความเข้าใจในประเด็นเกี่ยวกับพลวัตความยากจนโดยเฉพาะในครัวเรือน
               ชาวนาในพื้นที่ชนบทของประเทศไทยจะสามารถช่วยสนับสนุนให้การกำหนดนโยบายเพื่อแก้ไข
               ความยากจน รวมถึงการกำหนดนโยบายพัฒนาด้านการเกษตรที่จะช่วยสนับสนุนครัวเรือน
               ที่ประกอบอาชีพทำนาและเกษตรกรรมซึ่งยังคงเป็นอาชีพส่วนใหญ่ของประเทศ โดยเฉพาะอย่าง

               ยิ่งครัวเรือนชาวนาที่ประสบปัญหาความยากจนให้สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาไปได้อย่าง
               มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

                     จากการทบทวนวรรณกรรมและผลงานวิจัยเกี่ยวกับพลวัตความยากจนในหลายประเทศ
               พบว่างานวิจัยส่วนใหญ่ใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณวิเคราะห์บนฐานข้อมูลภาคตัดขวางตาม
               เวลาหรือข้อมูล panel (quantitative panel data analysis) โดยการสำรวจครัวเรือนเดิม
               ซ้ำอีกครั้ง และใช้การคำนวณความยากจนตามนิยามทางด้านรายได้หรือรายจ่าย (Hulme and

               McKay, 2007) การวิจัยชิ้นนี้จึงเริ่มจากการใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณวิเคราะห์เพื่อหาว่าแต่ละ
               ครัวเรือนถูกจัดอยู่ในกลุ่มพลวัตความยากจนกลุ่มไหน โดยอาศัยวิธีวิเคราะห์ทางเศรษฐมิติจาก
               ฐานข้อมูล panel survey ที่ได้จากการออกแบบสอบถามสำรวจครัวเรือนชาวนาในพื้นที่ชนบท
               ของภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยจำนวน 240 ครัวเรือน ในปี 2531 และ

               ปี 2552











               82 สถาบันคลังสมองของชาติ
   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88