Page 66 -
P. 66
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
3
การเปลี่ยนแปลงความยากจนในประเทศไทย
ตารางที่ 3.3 สัดส่วนคนจนด้านรายจ่าย (ร้อยละต่อประชากร) จำแนกรายภาค
และเขตอยู่อาศัย 2531-2552
ตะวันออกเฉียงเหนือ เหนือ ใต้ กลาง กรุงเทพฯ
ปี
เทศบาล ชนบท เทศบาล ชนบท เทศบาล ชนบท เทศบาล ชนบท เทศบาล
2531 32.4 60.6 39.2 50.1 17.6 36.7 29.9 36.5 11.7
2535 24.6 44.1 19.1 36.3 11.8 28.7 10.8 21.8 4.4
2539 15.0 26.3 13.4 19.0 7.1 11.2 5.4 6.5 1.2
2543 20.1 38.4 16.1 24.9 5.7 19.9 7.0 10.1 1.7
2547 10.8 20.4 9.3 17.4 3.0 7.0 3.3 5.1 0.8
2550 5.8 14.6 5.9 14.6 4.7 6.3 2.3 3.4 1.1
2551 5.8 16.6 6.3 15.1 2.8 5.0 1.7 3.8 0.8
2552 6.9 15.2 5.4 12.7 2.1 5.8 1.6 3.0 0.9
ที่มา: ข้อมูลสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประมวลและเผยแพร่
โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(2) ขนาดและองค์ประกอบครัวเรือน
คุณลักษณะประการหนึ่งของคนจนคืออาศัยอยู่ในครัวเรือนขนาดใหญ่ กว่าร้อยละ 70
ของคนจนในไทยอาศัยในครัวเรือนที่มีสมาชิกตั้งแต่ 4 คนขึ้นไป หรืออาจกล่าวได้ว่า ความ
สัมพันธ์ระหว่างความยากจนและขนาดของครัวเรือนเป็นไปในทิศทางเชิงบวก โดยในปี 2550 ครัว
เรือนคนเดียวพบว่ามีสัดส่วนคนจนเพียงร้อยละ 6.7 ในขณะที่ครัวเรือนที่มีขนาดตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป
มีสัดส่วนคนจนมากกว่าร้อยละ 10 อย่างไรก็ตาม หลักฐานทางสถิติระบุว่า ปัญหาความยากจน
ในครัวเรือนขนาดใหญ่ลดลงเร็วกว่าในครัวเรือนขนาดเล็ก โดยในปี 2550 สัดส่วนคนจนของ
ครัวเรือนที่มีขนาดตั้งแต่ 7 คนขึ้นไปลดลงไปกว่าสองในสามเมื่อเทียบกับปี 2543 (ภาพที่ 3.8)
ในขณะที่ครัวเรือนคนเดียวมีสัดส่วนคนจนลดลงประมาณครึ่งหนึ่งเท่านั้น
65