Page 68 -
P. 68

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


                                                                                           3


                                                        การเปลี่ยนแปลงความยากจนในประเทศไทย


                             นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาโครงสร้างประชากรของครัวเรือน ยังพบว่าขนาดของครัวเรือนที่
                      เปลี่ยนไปนั้นเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงในจำนวนเด็กและผู้สูงอายุ โดยกว่ากึ่งหนึ่งของคนจน
                      จะเป็นผู้ที่อยู่ในวัยที่ต้องพึ่งพิงคนอื่น และขาดศักยภาพในการหารายได้ในปี 2550 ร้อยละ 30
                                                  7
                      ของคนจนเป็นเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 และกว่าร้อยละ 22 เป็นผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปี หรือ

                      อาจกล่าวได้ว่า ครัวเรือนที่มีอัตราภาระพึ่งพิงสูงมีแนวโน้มหรือเสี่ยงที่อยู่ในความยากจนสูงกว่า
                      ครัวเรือนที่มีอัตราพึ่งพิงต่ำ โดยในปี 2550 และ 2552 ครัวเรือนที่มีสมาชิกเฉพาะเด็กและผู้สูงอายุ
                      จะมีสัดส่วนคนจนที่สูงที่สุด เฉลี่ยประมาณร้อยละ 21 (ตารางที่ 3.4) นอกจากนี้หากพิจารณา
                      ครัวเรือนที่มีสมาชิกเฉพาะเด็กและผู้สูงอายุในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็จะพบใน
                      ลักษณะเดียวกัน (ตารางที่ 3.5)




                       ตารางที่  3.4 สัดส่วนคนจน (ร้อยละ) จำแนกตามองค์ประกอบครัวเรือน ปี 2547-2552



                                                              สัดส่วนคนจน (ร้อยละ)
                           องค์ประกอบครัวเรือน
                                                2531      2547      2549      2550      2552
                        วัยเด็ก-วัยทำงาน-วัยชรา   53.5    13.3      13.5      11.9      11.7
                        วัยเด็ก-วัยทำงาน         51.3     11.9       9.3      8.3        6.8

                        วัยทำงาน-วัยชรา          38.0     10.1       8.7      8.0        8.4
                        วัยเด็ก-วัยชรา           69.0     34.2      24.2      21.1      20.7

                        วัยเด็ก เท่านั้น         99.2       -       23.4      11.4       3.5
                        วัยทำงาน เท่านั้น        24.9      2.0       3.7      2.9        2.9
                        วัยชรา เท่านั้น          48.5     19.2      20.4      19.4      12.7

                        รวม                      45.3     11.2       9.5      8.5        7.2

                      ที่มา:  ข้อมูลสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประมวลและเผยแพร่
                           โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ







                      7   อัตราภาระการพึ่งพิง (dependency ratio) คือ สัดส่วนของประชากรในวัยพึ่งพิง คือ เด็ก (อายุต่ำกว่า 15 ปี) และ
                        ผู้สูงอายุ ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ต่อประชากรวัยทำงาน คือ ผู้ที่มีอายุ 15-59 ปี





                                                                                             67
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73