Page 60 -
P. 60

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


                                                                                           3


                                                        การเปลี่ยนแปลงความยากจนในประเทศไทย


                      8.48 ในปี 2550 (มีคนจนประมาณ 5.4 ล้านคน) ซึ่งอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิดวิกฤต
                      เศรษฐกิจ ทั้งนี้ ข้อค้นพบดังกล่าวสอดคล้องกับหลักการคำนวณความยากจนนานาชาติ ซึ่งมีเพียง
                      ร้อยละ 0.2 ของประชากรไทยในปี 2549 เท่านั้นที่มีรายได้ต่ำกว่า 1.25 ดอลลาร์สหรัฐฯ/คน/วัน
                      ลดลงอย่างเห็นได้ชัดจากร้อยละ 17.20 ในปี 2531 หรือหากกำหนดเส้นความยากจนที่ 2 ดอลลาร์
                      สหรัฐฯ/คน/วัน สัดส่วนคนจนของไทยก็ลดลงจากร้อยละ 40 เหลือเพียงร้อยละ 11 ในช่วงเวลา
                      2531-2549 (ธนาคารโลก, 2551)

                             การประเมินความยากจนโดยใช้เพียงสัดส่วนคนจน (headcount ratio) จะทำให้เห็นภาพ
                      เพียงแค่จำนวนคนจนเท่านั้น ซึ่งยังขาดมิติความยากจนอื่นๆ โดยดัชนีชี้วัดความยากจนอีก 2 ดัชนี
                      ที่สำคัญ คือ ดัชนีชี้วัดช่องว่างความยากจน  (poverty gap index) ที่จะทำให้ทราบถึงระดับความลึก
                                                      5
                      ของปัญหา และดัชนีชี้วัดความรุนแรงของความยากจน  (poverty gap squared index) ที่มุ่ง
                                                                6
                      ศึกษาระดับความรุนแรงของปัญหาที่เกิดขึ้น

                             ภาพที่ 3.2 (ก) และ3.2 (ข) และตารางที่ 3.1 แสดงให้เห็นว่า ไม่ว่าจะประเมินความ
                      ยากจนด้วยวิธีการใดก็ตาม จำนวนคนจนในประเทศไทยก็ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีช่องว่าง
                      ความยากจนลดลงจากร้อยละ 11.40 ในปี 2531 เหลือเพียงร้อยละ 1.45 ในปี 2550 ในขณะที่
                      ดัชนีวัดความรุนแรงของความยากจนก็มีแนวโน้มลดลงตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเกิดขึ้น
                      ในทุกพื้นที่และทุกภาคของไทย




















                          ภาพที่ 3.2 (ก) เส้นความยากจน สัดส่วนและจำนวนคนจน (ด้านรายจ่าย) ปี 2531-2552



                      5   ดัชนีชี้วัดช่องว่างความยากจน (poverty gap) สะท้อนให้เห็นถึงระยะห่างระหว่างคนจนกับเส้นความยากจน ซึ่งวัด
                        ความแตกต่างของระดับรายได้หรือรายจ่ายของครัวเรือนกับเส้นความยากจน

                      6   ดัชนีชี้วัดความรุนแรงของความยากจน (poverty gap squared index) คือ ดัชนีที่ให้น้ำหนักมากกับความแตกต่าง
                        ระหว่างรายได้หรือรายจ่ายครัวเรือนกับเส้นความยากจน ซึ่งจะให้สามารถเปรียบเทียบคนที่จนมากกับคนจนได้ชัดเจนยิ่งขึ้น






                                                                                             59
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65