Page 59 -
P. 59

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               พลวัตของความยากจน



                     (2)  ภาคกลาง

                     ภาคกลาง (หรือ พื้นที่ราบภาคกลาง) ครอบคลุมพื้นที่กว้างบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
               ประกอบไปด้วย 25 จังหวัด มีประชากร 16 ล้านคนมากเป็นอันดับสองของประเทศรองจากภาค
               ตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะภูมิประเทศตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มและมีพื้นที่ชลประทานในสัดส่วนที่สูง
               ในภูมิภาคนี้ พื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ไปในการเพาะปลูกข้าว ซึ่งเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลักของพื้นที่
               และเป็นแหล่งผลิตข้าวเพื่อการค้าของประเทศ พื้นที่ภาคกลางสามารถแบ่งออกได้เป็นสองส่วน คือ
               พื้นที่ราบตอนบนและพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง โดยบริเวณพื้นที่โดยรอบกรุงเทพมหานคร
               มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุด ภาคกลางมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวที่ประมาณ 240,000 บาท ร้อยละ 60
               ของรายได้ภาคกลางมาจากภาคอุตสาหกรรมเป็นหลัก ในขณะที่เพียงร้อยละ 10 มาจากภาค
               เกษตรกรรม (ภาพที่ 3.1 (ข))




                3.3   การเปลี่ยนแปลงความยากจนและลักษณะทั่วไป


                      ของคนจน




               3.3.1 ภาพรวมความยากจนด้านรายได้


                     ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ไทยได้มุ่งแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างจริงจังและ
               ต่อเนื่อง ทำให้สถานการณ์ความยากจนในประเทศดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยสัดส่วนคนจน 4
               (headcount ratio) ในช่วงก่อนวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจปี 2540 (เศรษฐกิจไทยขยายตัวกว่า
               ร้อยละ 7) ลดลงอย่างมากจากร้อยละ 42.21 ในปี 2531 เหลือเพียงร้อยละ 14.75 ในปี 2539
               จำนวนคนจนด้านรายจ่าย (consumption poor) ลดลงจาก 22.1 ล้านคนเป็น 8.5 ล้านคนใน
               ช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า มีประชาชนประมาณปีละ 1.7 ล้านคนที่สามารถก้าวออกจาก
               ความยากจนได้ตลอดช่วงปี 2531-2539

                     อย่างไรก็ตาม วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจปี 2540 ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อปัญหาความ
               ยากจน โดยสัดส่วนคนจนเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 20.98 ในปี 2543 ก่อนที่จะลดลงไปอยู่ที่ร้อยละ



               4   สัดส่วนคนจน (headcount ratio) คือ อัตราส่วนของคนที่มีระดับรายได้หรือรายจ่ายครัวเรือนต่อหัวต่ำกว่าเส้นความ
                 ยากจน ต่อจำนวนประชากรทั้งหมด ซึ่งนับได้ว่าเป็นวิธีการที่ง่ายและเป็นที่นิยมที่สุดในการประเมินสถานการณ์ความ
                 ยากจน ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้จะใช้วิธีวัดความยากจนด้านรายจ่าย (consumption based poverty) เป็นหลัก







               58 สถาบันคลังสมองของชาติ
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64