Page 110 -
P. 110

โครงการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี



                               สัทวิทยา : การวิเคราะหระบบเสียงในภาษา                                                           บทที่ 9 ทฤษฎีโครงสรางการเนนพยางค  103


                                        ภาษาเชน ภาษาอังกฤษ ที่มีการเนนพยางคเปนชวงๆ โดยมีแตละชวงของการเนนพยางค
                           เปนจังหวะเทาๆ กันนี้ เราเรียกวาเปนภาษาประเภท Stress-timed  ยังมีภาษาอีกประเภทหนึ่งที่มีชวงเวลา

                           ของพยางคเทาๆ กันในแตละพยางค ไมวาพยางคนั้นจะเนนหรือไมเนน ภาษาชนิดนี้จัดเปนภาษาประเภท
                           Syllable-timed เชนภาษาอิตาเลียน ฝรั่งเศส และสเปน เปนตน (Selkirk, 1984:41)

                                        จังหวะ หรือชวงเวลาของการเนนพยางคที่เปนระบบระเบียบนี้ เปนโครงสรางทางระบบ
                          เสียงของคํา วลีและประโยค ซึ่งจัดเปนโครงสรางระบบการเนนพยางค (metrical  Structure)  ของเสียง
                           ในบทนี้ เราจะศึกษาเฉพาะการเนนพยางคและจังหวะในระดับพยางคและคํา (word  stress)  เทานั้น

                           สวนจังหวะในระดับวลีและประโยค (phrasal  intonation)  จะมีความสัมพันธกับระบบวากยสัมพันธ
                           (syntax) และเปนเรื่องที่จะตองศึกษากันตอไป


                                        นักภาษาศาสตรไทยหลายทานไดศึกษาเรื่อง การเนนพยางคและจังหวะในภาษาไทย
                          โดยใชเครื่องมือวิเคราะหเสียง หรือเครื่องมือวิเคราะหความยาวนาน (length)  ของพยางค อาทิเชน

                           ธีระพันธ เหลืองทองคํา (Luangthongkum  1977)  และสุดาพร ลักษณียนาวิน (Luksaneeyanawin
                           1983,1993) ซึ่งเราพอจะสรุปและเรียบเรียงกฎการเนนพยางคและจังหวะในระดับคําไดดังนี้
                           (ลักษณียนาวิน 1993: 286-287)



                           (21)   สําหรับคําที่เปนคําหลายพยางคแตเปนหนวยคําเดียว (monomorphemic polysyllabic word)

                                        ก.  มีการแบงพยางคออกเปน 2 ประเภทใหญๆ คือ

                                           1)  Linker syllable คือ CV-syllable ที่มี [a] เปนสระ หรือ Ca-syllable

                                           2)  Non-Linker syllable คือพยางคอื่นทั้งหมด

                                        ข.  พยางคทายคํา จะเปนพยางคเนนที่เดนที่สุดเสมอ (primary stress)

                                        ค.  ระหวาง Linker  และ Non-Linker  syllable  ในตําแหนงอื่นๆ ยกเวนตําแหนงทาย
                                           พยางค) Non-Linker syllable จะดึงดูดการเนนพยางค (attract stress)

                                        ง.  ในคํา 2-4  พยางค ถาพยางคกอนสุดทายเปน Ca-syllable  การเนนพยางคจะอยูใน
                                           รูปแบบดังนี้







                                        (ถาพยางคแรกของคํา 4 พยางค เปน Ca-syllable)
   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115