Page 113 -
P. 113
โครงการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
106 สัทวิทยา : การวิเคราะหระบบเสียงในภาษา บทที่ 9 ทฤษฎีโครงสรางการเนนพยางค
9.5.1.2 มีพยางคเนนเปนพยางคชุดแรก (ซายสุด) ภายในกลุม
(Left-headed foot tree)
∑
S W
σ σ
9.5.1.3 ไมมีการแตกแขนงกลุมพยางค (Degenerate foot)
∑
σ
ในการแตกแขนง กิ่งหนัก (strong node) จะยึดพยางคที่เนนในระดับพยางค
เสมอ ภาษาที่มีพยางคเนนและไมเนนสลับกันไปจะมีกลุมพยางค (foot tree) ในลักษณะที่เรียกวา binary
foot คือ มีเพียง 2 กิ่งคือกิ่งหนักและกิ่งเบาเทานั้น สวนภาษาที่ไมจํากัดจํานวนกิ่งเบาของกลุมพยางค
มีลักษณะกลุมพยางคเรียกวาเปน unbounded foot คือจํานวนพยางคที่ไมเนนในกลุมมีมากกวา 1 พยางค
และไมจํากัดจํานวนพยางคไมเนนในแตละกลุม
9.5.2 ระดับคํา (word)
ในทํานองเดียวกันกับกลุมพยางค คําแตละคําจะมีการแตกแขนงเปนกิ่งหนักและ
เบา โดยมีกิ่งหนักยึดกลุมพยางคที่เนน และกิ่งเบายึดกลุมพยางคที่ไมเนน กลุมพยางคที่เนนอาจจะเปนกลุม
ที่อยูทายสุดของคํา (Right-headed word tree) หรืออาจจะเปนกลุมที่อยูแรกสุดของคํา (Left-headed word
tree) ขึ้นอยูกับภาษา และในทํานองเดียวกันกับ foot tree, word tree อาจจะเปน binary word tree หรือเปน
unbounded word tree ก็ได ขึ้นอยูกับโครงสรางของภาษาเชนเดียวกัน
นอกจากนี้การนับกิ่งหนักในระดับกลุมพยางคและในระดับคํา ยังตองมีการจัด
ทิศทางของการนับวา มีทิศทางจากซายไปขวา หรือจากขวาไปซาย เปนเอกลักษณของภาษา ซึ่งในทิศทาง
ที่ตางกัน จะมีผลใหเกิดโครงสรางที่แตกตางกันไป ตัวอยางเชน