Page 51 -
P. 51
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2. การคัดเลือกควายเพื่อทำพันธุ์
2.1 การคัดเลือกควายเพศผู้สำหรับทำเป็นพ่อพันธุ์ เกษตรกรภูมิปัญญาระบุตรงกันว่า ควาย
ที่เกษตรกรต้องการคัดเลือกไว้เป็นควายพ่อพันธุ์ คือควายที่มีลักษณะงามตามอุดมคติ แต่บางครั้งก็หา
ได้ยากและมีราคาแพงเกินกว่าที่เกษตรกรจะซื้อหามาไว้ครอบครองได้ จึงพยายามคัดเลือกตัวที่ดีที่สุด
ไว้ทำพันธุ์ โดยการคัดเลือกจะดูองค์ประกอบต่างๆ ดังนี้
2.1.1 ส่วนหน้าตา หัว เขา
สอดคล้องกับลักษณะความงามตามอุดมคติ ควาย
ที่หน้าบาง เหมือนควายเพศเมีย จะไม่นิยมนำมาใช้
เป็นพ่อพันธุ์ และส่วนใหญ่มีความเชื่อว่าลักษณะ
หน้าตา หัว เขา ของพ่อพันธุ์สามารถถ่ายทอด
ลักษณะไปยังลูกได้
2.1.2 สี ขนและหนัง สีเช่นเดียวกับ
ควายงามตามอุดมคติ และนิยมพ่อพันธุ์ที่หนังหนา
มากกว่าหนังบาง ส่วนใหญ่เห็นว่าพ่อพันธุ์ที่มี
กำหนัดสูง คือพ่อพันธุ์ที่มีสีเข้มกว่า ซึ่งน่าจะเป็น
เพราะมีฮอร์โมนเพศมากกว่า
2.1.3 อุปนิสัย อารมณ์ ควายพ่อพันธุ์ต้องดูแลฝูง ต้อนฝูง ไม่ชนควายเล็ก (อ๊อด,2553)
ที่สำคัญต้องเชื่อง แต่ไม่เซื่องซึม ไม่ดุร้าย ไม่เปรียวเกินไป และไม่ทำร้ายควายตัวอื่น (ประเทือง,2553)
2.1.4 โครงสร้างลำตัว ควายพ่อพันธุ์ ที่โครงสร้างใหญ่ (อีสานใช้คำว่า หนังหนา ส่าใหญ่)
กระดูกใหญ่ ลำตัวกว้าง ยาวและลึก รูปร่างล่ำสัน บึกบึน คอค่อนข้างยาว หัวไหล่และอกนูนเด่นชัด
ลักษณะต่างๆ เหล่านี้ ปราชญ์ภูมิปัญญา เชื่อว่าพ่อพันธุ์จะถ่ายทอดลักษณะได้ดีกว่าแม่พันธุ์ เห็นได้จาก
แม่พันธุ์ตัวเล็ก ถ้าใช้พ่อพันธุ์ที่มีลักษณะดีผสม ลูกที่ได้จะเหมือนพ่อไม่เหมือนแม่(จำปา, 2553)
2.1.5 ขนาดและน้ำหนัก
ส่วนใหญ่ เห็นว่าควายพ่อพันธุ์ต้องมี
ขนาดใหญ่น้ำหนักไม่ควรต่ำกว่า 700
กิโลกรัม แต่ถ้าเป็นควายที่จะใช้รีดน้ำเชื้อ
ไว้ผสมเทียมสามารถใช้ควายที่ตัวใหญ่
กว่านี้ได้ และถ้าพ่อพันธุ์ขนาดใหญ่มาก
เมื่อปล่อยคุมฝูงจะควบคุม บังคับยาก ซึ่ง
อาจเป็นอันตรายกับเจ้าของหรือผู้เลี้ยงได้
โดยเฉพาะพ่อพันธุ์ที่มีลักษณะขวัญไม่ดี
หรือมีลักษณะกาลกิณีอยู่ในตัว
การคัดเลือกควายไทย ภูมิปัญญา 41 การคัดเลือกควายไทย