Page 47 -
P. 47

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





























                       1.3.4 ส่วนลำตัว
                             1)  ตะโหนก ต้องกว้าง หนาและสูงเล็กน้อย ควายตัวผู้ถ้าตะโหนกบาง จะดูคล้าย
            ตัวเมีย และส่วนใหญ่จะเป็นควายที่ตอนแล้ว
                             2)  ลำตัว ต้องใหญ่ ยาวเสมอจากหน้าไปหลัง มีความหนาและลึก ถ้ามองจากด้าน

            ข้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เรียกเต็มหน้า เต็มหลัง(เกษม, 2553) ต้องเป็นควายเลาปลาคอ(ปลาคอ คือ
            ปลาช่อน)  ช่วงลำตัวยาว เนื้อเต็มเสมอตั้งแต่ช่วงหน้าถึงช่วงหลัง เหมือนลำตัวปลาช่อน และซี่โครง
            ต้องจับสูง ทำให้ลำตัวกว้างและลึก ถ้าควายที่ซี่โครงจับสูง ประกอบกับสวาบแคบ จะดูอ้วนอยู่ตลอด

            เวลา ส่วนควายที่ซี่โครงจับต่ำ ซี่โครงจะกางออกน้อย ทำให้ลำตัวไม่กว้าง จะมีส่วนลึกอย่างเดียว เรียก
            ควายหลาบเสือ (ตัวบางเหมือนเสือ) จะเป็นควายที่เลี้ยงไม่อ้วน(ล้วน, 2553)
                             3)  หลัง แนวสันหลังต้องขนานพื้นท้อง กว้าง ยาว ตรง สันหลังจะแตกเป็นร่อง
            เมื่อเทน้ำใส่สามารถขังน้ำได้ บางแห่งเรียกควายสันปลาบู่ ส่วนควายที่สันหลังเป็นหลังกระดูกงูสิงห์ดง
            (งูสิงห์ดง คืองูกลุ่มที่เรียกว่า งูสิงห์ แต่จะสีดำกว่างูสิงห์ชนิดอื่น ชอบอาศัยตามป่า,อีสาน ดง: คือ ป่า)

            ปกติแม้อ้วน กระดูกสันหลังก็จะโผล่เห็นเป็นแนว จะเป็นลักษณะควายเลี้ยงยาก เลี้ยงยังไงก็จะไม่อ้วน
            เต็มที่ (ล้วน, 2553)



                                                                              หลังปลาบู่




















 การคัดเลือกควายไทย                     ภูมิปัญญา   37     การคัดเลือกควายไทย
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52