Page 77 -
P. 77
ิ
์
ื
ิ
ั
ุ
ิ
ิ
โครงการพัฒนาหนังสออเล็กทรอนกสเฉลมพระเกียรต สมเด็จพระเทพรตนราชสดาฯ สยามบรมราชกุมาร ี
74
ภาพที่ 4 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างแรงดึงกับความยาว
ที่เพิ่มขึ้นของ ligament โดยช่วงที่เริ่มมีแรงมาดึง
ligament จากความยาวเริ่มต้น x1 จนถึงความยาว x2
ช่วงนี้ใช้แรงดึงเพียงเล็กน้อย แต่ ligament มีความยาว
เพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากรอยหยักของ collagen เหยียด
ออก ช่วงนี้เรียกว่า toe region เมื่อรอยหยักของ
collagen เหยียดออกเต็มที่จนเป็นเส้นตรงแล้ว ถึงจะให้แรงดึงเพิ่มขึ้นมาก แต่ ligament มีความยาว
เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ความสัมพันธ์ระหว่างแรงดึงกับความยาวในช่วงนี้เป็นเส้นตรง (linear) และ
ความชันของกราฟในช่วงนี้บ่งบอกถึงความแข็งหรือความเหนียวของ ligament
ที่มา Solomonow M. Ligaments: a source of musculoskeletal disorders. J Bodyw Mov Ther.
2009;13(2):136-154. doi:10.1016/j.jbmt.2008.02.001
ภาพที่ 5 A) แสดงการ
ทดสอบคุณสมบัติทาง
ก ล ข อ ง lateral
collateral ligament
(LCL) ในเข่ามนุษย์ โดย
เครื่องมือจะดึง LCL ที่
A B ติดอยู่กับ Femur และ
tibia ด้วยแรงดึงที่
ั
เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และในขณะเดียวกัน เครื่องมือจะวัดความยาวของ LCL ที่เพิ่มขึ้น B) ความสัมพนธ์ระหว่าง
แรงดึงกับความยาวที่เพิ่มขึ้นของ ligament จากการทดสอบให้แรงดึง โดยเปรียบเทียบ medial
collateral ligament (MCL) กับ LCL
ที่มา Wilson WT, Deakin AH, Payne AP, Picard F, Wearing SC. Comparative analysis of the
structural properties of the collateral ligaments of the human knee. J Orthop Sports Phys
Ther. 2012;42(4):345-351. doi:10.2519/jospt.2012.3919
นอกจากนี้ ligament ยังแสดงคุณสมบัติ viscoelastics ซึ่งเป็นผลจากการยืดหยุ่นของ collagen บน
ของไหลที่มีลักษณะเหนียวหนืด ที่เป็นส่วนประกอบของ proteoglycan และน้ำ ดังตัวอย่างที่ให้เครื่องมือ
ออกแรงดึง supraspinatus ligament ด้วยปริมาณของแรงที่คงที่ (Constant load) และดึงค้างไว้เป็น
Clinical Biomechanics of Knee ผศ.ดร.สิริพร ศศิมณฑลกุล