Page 76 -
P. 76

ุ
                                 ื
                                                                ิ
                                    ิ
                                                                                ั
                                                 ์
             โครงการพัฒนาหนังสออเล็กทรอนกสเฉลมพระเกียรต สมเด็จพระเทพรตนราชสดาฯ สยามบรมราชกุมาร                  ี
                                                    ิ
                                              ิ
                                                                 73








                       ภาพที่ 3 จุดเกาะของ ligament บนกระดูก A) เกาะกับกระดูกโดยตรง B) ไม่ได้เกาะกับกระดูกโดยตรง

                       ที่มา Woo SL, Abramowitch SD, Kilger R, Liang R. Biomechanics of knee ligaments: injury,
                       healing, and repair. J Biomech. 2006;39(1):1-20. doi:10.1016/j.jbiomech.2004.10.025



                              คุณสมบัติทางกลของ ligament จากการทดสอบให้แรงดึง (stress-strain diagram)
                              ➢ ในการให้แรงดึง ligament ในช่วงแรก ligament ยืดยาวขึ้นมากถึง 1.5 – 4 เปอร์เซ็นต์ โดย

                                 ที่ไม่ต้องออกแรงดึงมาก เนื่องจากในช่วงนี้ แรงดึงเพียงเล็กน้อยจะไปดึง collagen ที่หย่อน
                                 หรือที่เป็นรอยหยัก ให้เหยียดตรงขึ้น เรียกช่วงนี้ว่า toe region (ภาพที่ 4)

                              ➢ หลังจากที่ collagen เหยียดออกจนเป็นเส้นตรงแล้ว จะต้องใช้แรงดึง ligament ในปริมาณ

                                 ที่มากขึ้นมาก แต่ ligament ยืดยาวขึ้นเพียงเล็กน้อย ความสัมพันธ์ระหว่างแรงและความยาว
                                 ในช่วงนี้เป็นเส้นตรง (linear relationship) เรียกว่า linear region ซึ่งความชันของกราฟช่วง

                                 นี้บ่งบอกถึงความแข็งแรง   (stiffness)   หรือความสามารถในการต้านทานแรงดึงของ

                                 ligament (ภาพที่ 4 และ   5B) เรียกว่า young modulus หรือ tangent Modulus ถ้า
                                 กราฟช่วงนี้ชันมาก  หมายถึง  ligament  แข็งแรงมาก  เนื่องจากต้องออกแรงดึง  ligament

                                 มาก  แต่  ligament  ยาวออกเพียงเล็กน้อย  นอกจากนี้ความแข็งแรงของ  ligament  ยัง

                                 เปลี่ยนแปลงตามความเร็วของแรงดึง เช่น  ถ้าเพิ่มความเร็วในการดึงให้อยู่ในช่วง 0.003 to
                                 113 mm/s จะเพิ่มความแข็งแรง (Modulus) ของ ligament ได้ถึง 30% ดังนั้น ligament

                                 จะต้านทานแรงดึงมากขึ้น เมื่อทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวข้อต่ออย่างรวดเร็ว

                              ➢ เมื่อเพิ่มแรงดึง ligament อีก จนถึง yield point ใย collagen ใน ligament บางส่วนเริ่ม
                                 ฉีกขาด ligament จึงยาวออกได้ง่ายและแรงต้านทานแรงดึงลดลง และถ้ายังคงเพิ่มแรงดึงให้

                                 มากขึ้นจากระดับนี้ไปอีก จนเลยจุดที่เป็นความสามารถสูงสุดของ ligament ในการต้านทาน

                                 แรงดึง (ultimate strength) ligament จึงฉีกขาดทั้งมด จากการวิเคราะห์และเปรียบเทียบ
                                                                               ั
                                 คุณสมบัติทางกลระหว่าง MCL กับ LCL พบว่า MCL มีความแข็งแรงมากกว่า LCL เนื่องจาก

                                 MCL จะฉีกขาดภายใต้แรงดึงที่มากกว่า LCL  (ภาพที่ 5  B)




                                                          Clinical Biomechanics of Knee ผศ.ดร.สิริพร ศศิมณฑลกุล
   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81