Page 80 -
P. 80
ิ
์
ื
ิ
ั
ุ
ิ
ิ
โครงการพัฒนาหนังสออเล็กทรอนกสเฉลมพระเกียรต สมเด็จพระเทพรตนราชสดาฯ สยามบรมราชกุมาร ี
77
กราฟของการดึงในทิศตามยาว มีความชันมากกว่ากราฟของการดึงในทิศตามขวางมาก ซึ่งบ่งบอกว่า MCL
มีความแข็ง (stiffness) ต่อการดึงในทิศตามยาวมากกว่า
ที่มา Woo SL, Abramowitch SD, Kilger R, Liang R. Biomechanics of knee ligaments: injury,
healing, and repair. J Biomech. 2006;39(1):1-20. doi:10.1016/j.jbiomech.2004.10.025
ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณสมบัติทางกลของ ligament
1. การเสื่อมสภาพของ ligament ตามอายุที่มากขึ้น (Aging) ทำให้ ความแขง (stiffness)
็
และการต้านทานแรงดึงสูงสุด (ultimate load) ของ ligament ลดลง
2. การจำกัดการเคลื่อนไหว (immobilization) ทำให้ความแข็งแรงของ ligament ลดลง
(ภาพที่ 10) ถ้าจำกัดการเคลื่อนไหวนาน 8 สัปดาห์ จะทำให้การต้านทานแรงดึงสูงสุด (ultimate
load) ของ ligament ลดลงได้ถึง 39 เปอร์เซ็นต์
3. การให้สาร หรือ ยาประเภท corticosteroid ทำให้การต้านทานแรงดึงสูงสุด (ultimate
load) ของ ligament ลดลง 39 เปอร์เซ็นต์
4. ฮอร์โมน estrogen ในระดับปกติ ทำให้การสร้าง collagen ลดลง 40%
5. การออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวข้อต่อ ทำให้ MCL มีความแข็งแรง
เพิ่มขึ้น 14 เปอร์เซ็นต์ และการต้านทานแรงดึงสูงสุด (ultimate load) เพิ่มขึ้น 38 เปอร์เซ็นต์ต่อ
น้ำหนักตัว
ภาพที่ 10 การจำกัดการเคลื่อนไหว
(immobilization) ของ ligament ทำให้ความ
แข็งแรงและการต้านทานแรงดึงสูงสุด (ultimate
load) ของ ligament ลดลง การออกกำลังกายหรือ
ทำกิจกรรมที่มการเคลื่อนไหวข้อต่อ ทำให้ MCL มี
ี
ความแข็งแรงเพมขึ้น
ิ่
ที่มา Woo SL, Abramowitch SD, Kilger R, Liang
R. Biomechanics of knee ligaments: injury,
healing, and repair. J Biomech. 2006;39(1):1-
20. doi:10.1016/j.jbiomech.2004.10.025
การเสื่อมสภาพของ ligament
ligament มีการเสื่อมสภาพตามอายุที่มากขึ้น และมีจำนวน cell น้อยลง (ภาพที่ 11) ผู้ที่มี ACL
ื่
เสื่อม จะมีการสร้างเซลล์ที่มีลักษณะเหมือน fibroblast ในเอ็นยึดข้อเพอจะซ่อมแซม ส่วนผู้ที่มี ACL เสื่อม
Clinical Biomechanics of Knee ผศ.ดร.สิริพร ศศิมณฑลกุล