Page 40 -
P. 40
์
ิ
ิ
ื
ิ
ิ
ุ
โครงการพัฒนาหนังสออเล็กทรอนกสเฉลมพระเกียรต สมเด็จพระเทพรตนราชสดาฯ สยามบรมราชกุมาร ี
ั
37
การเคลื่อนไหวข้อเข่าของผู้ที่มีข้อเข่าเสื่อม
ื่
ผู้ที่มีข้อเข่าเสื่อมจะมีการเคลื่อนไหวของร่างกายและข้อเข่าที่เปลี่ยนแปลงไป เพอลดแรงกดบน
กระดูกและลดอาการปวด เมื่อวิเคราะห์การเคลื่อนไหวข้อเข่าของผู้ที่มีข้อเข่าเสื่อมด้วย fluoroscope, CT
Scan, MRI ในขณะทำกิจกรรมต่างๆ อาทิ เดิน เดินขึ้นบันได squat lunge พบว่า ผู้ที่มีข้อเข่าเสื่อมจะมี
การหุบเข้าในของกระดูก tibia (knee adduction) มากขึ้น หรือเข่าโก่ง (knee varus) และจุดกดของ
lateral femoral condyle เลื่อนไปทางด้านหน้าของ tibia plateau มากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ม ี
ข้อเข่าเสื่อม (ภาพที่ 22)
A B
ภาพที่ 22 แสดง A) มุมการกาง- knee adduction (knee abduction - adduction) B) จุดกดของ
้
lateral femoral condyle บน tibia plateau ในแกนหน้า-หลัง (anterior - posterior) ของผู้ที่มีขอ
เข่าเสื่อมและผู้ที่มีขอเข่าปกติ
้
ที่มา Scarvell JM, Galvin CR, Perriman DM, Lynch JT, van Deursen RWM. Kinematics of knees
with osteoarthritis show reduced lateral femoral roll-back and maintain an adducted
position. A systematic review of research using medical imaging. J Biomech. 2018;75:108-
122. doi:10.1016/j.jbiomech.2018.05.007
เมื่อวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของเข่าที่มีการเสื่อมทั้งขอต่อ tibiofemoral และ patellofemoral
้
ในขณะเดินบนลู่วิ่งที่ปรับให้เอียงลง 7 % พบว่า ข้อต่อ tibiofemoral ของผู้ที่มีขอเข่าเสื่อมทางด้านนอก
้
จะกางออก (knee abduction) ส่วนผู้ที่มีข้อเข่าเสื่อมทางด้านในข้อต่อ tibiofemoral จะหุบเข้า (knee
้
adduction) รวมทั้ง tibiofemoral ของผู้ที่มีขอเข่าเสื่อมหมุนเข้าในน้อยกว่าผู้ที่มีขอเข่าปกติ นอกจากนี้ผู้
้
้
ที่มีขอเข่าเสื่อมทางด้านนอกยังส่งผลให้ patella เอียงไปทางด้านนอกน้อยกว่าผู้ที่มีข้อเข่าปกติ (ภาพที่
23)
Clinical Biomechanics of Knee ผศ.ดร.สิริพร ศศิมณฑลกุล