Page 90 -
P. 90
ิ
์
ิ
ิ
ิ
ื
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
75
ฉบับ แต่ที่ดินที่ได้จัดสรรให้เหล่านั้นยังมีข้อจำกัดเนื่องจากไม่สามารถนำไปใช้เป็นหลักประกันใด ๆ ได้ เพราะ
ไม่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจที่สำคัญคือการเข้าถึงแหล่งทุนซึ่งทำให้เกิดปัญหาในการพัฒนารายได้และคุณภาพชีวิต
ของผู้ที่ได้รับการจัดสรรที่ดินให้ดีขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องใช้ทุนระยะปานกลางและระยะยาวอีกเป็น
จำนวนมาก แม้ว่าในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาจะมีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดที่ดินให้กับประชาชน
หลายฉบับ แต่กฎหมายดังกล่าวก็ไม่ได้ส่งเสริมให้ผู้ที่ได้รับการจัดที่ดิน เกษตรกร และผู้ยากจนเข้าสู่แหล่งทุนได้
ดังนั้น การสร้างมูลค่าให้กับที่ดินที่รัฐจัดให้กับประชาชนต้องคำนึงถึงการปรับปรุงกลไกพื้นฐานในการกำหนด
หรือคำนวณมูลค่าที่ดินและทรัพย์สินที่รัฐจัดให้กับประชาชน ซึ่งมักจะมีมูลค่าต่ำกว่าที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์โดย
สมบูรณ์ ควบคู่กับการจัดระบบแลกเปลี่ยน ซื้อที่คืนโดยรัฐ การทดแทนค่าที่ดินการตรวจสอบ การปรับปรุง
หนี้สินโดยใช้ที่ดินเป็นหลักทรัพย์ โดยกิจกรรมการสร้างมูลค่าให้กับที่ดินที่รัฐจัดให้กับประชาชนนี้ ถือว่าเป็น
มาตรการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมที่จำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งสมควรจะดำเนินการตามขั้นตอนจาก
นโยบายไปสู่การแก้ไขกฎหมาย และมาตรการต่าง ๆ จากง่ายไปหายาก ตลอดจนการปรับปรุงกลไกทั้งในระยะ
สั้น และมาตรการในระยะปานกลางและระยะยาวควบคู่ไปด้วย
กิจกรรมนี้ มีเป้าหมายที่จะให้เกษตรกรและคนยากจนที่ได้รับการจัดสรรที่ดินจากรัฐสามารถนำ
เอกสารแสดงสิทธิในที่ดินหรือหนังสือ/เอกสารให้ใช้ที่ดินที่ได้รับจากรัฐไปใช้เป็นหลักประกันการเข้าถึงแหล่ง
ทุนสำหรับการประกอบอาชีพ โดยกำหนดตัวชี้วัด คือ
(1) มีการปรับปรุงนโยบายการสร้างมูลค่าให้กับที่ดินที่รัฐจัดให้กับประชาชน ผ่าน
คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) และคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง
(2) มีการปรับปรุงหรือยกร่างระเบียบ กฎกระทรวง หรือกฎหมายที่จำเป็นต่อการสร้างมูลค่าทาง
เศรษฐกิจให้กับที่ดินที่รัฐจัดให้กับประชาชน
(3) มีการปรับปรุงกลไกที่จะทำหน้าที่ประเมินราคาที่ดินที่รัฐจัดให้กับประชาชนการจัดระบบ
แลกเปลี่ยน ซื้อที่คืนโดยรัฐ การทดแทนค่าที่ดิน การตรวจสอบ การปรับปรุงหนี้สินโดยใช้ที่ดินเป็นหลักทรัพย์
การตกทอดทางมรดก ฯลฯ
(4) เกษตรกรและคนยากจนที่ได้รับการจัดสรรที่ดินจากรัฐสามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้โดยใช้เอกสาร
สิทธิค้ำประกัน
จากการทบทวนข้างต้น จะเห็นว่านโยบายและแผนดังกล่าวข้างต้นมีสาระสำคัญสรุปได้ดังตาราง
ด้านล่างนี้ ซึ่งจะได้นำไปวิเคราะห์ในบทที่ 5 ต่อไปว่านโยบายการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนมีวัตถุประสงค์ที่
สอดคล้องกับหลักการดังกล่าวหรือไม่ และการดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวหรือไม่อย่างไร