Page 93 -
P. 93
ิ
ิ
ื
์
ิ
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
78
การสำรวจข้อมูลภาคสนามในบทที่ 4 โดยใช้แนวคิดทฤษฎี กฎหมาย นโยบายและแผนต่าง ๆ ที่ได้ศึกษาไว้ใน
บทที่ 3 นี้
ด้านผลผลิต (Product) โดยมีประเด็นการวิเคราะห์คือผลการดำเนินงานด้านการแก้ไขปัญหาความ
ยากจน การลดความเหลื่อมล้ำสร้างความเป็นธรรม การบริหารจัดการที่ดินโดยชุมชน และการแก้ไขปัญหา
ความขัดแย้งและยับยั้งการบุกรุกป่า โดยการประเมินจากผลการดำเนินโครงการตามนโยบาย คทช. จากผล
การสำรวจข้อมูลภาคสนามในบทที่ 4 โดยใช้แนวคิดทฤษฎี กฎหมาย นโยบายและแผนต่าง ๆ ที่ได้ศึกษาไว้ใน
บทที่ 3 นี้
เมื่อมีการประเมินผลโครงการตามบทที่ 5.1 แล้ว จะทำให้พบข้อจำกัดและอุปสรรคในแต่ละด้านข้าง
ต้น ซึ่งจะได้นำไปวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางดำเนินการต่อไปในบทที่ 5.2 และ 5.3 โดยใช้แนวคิดทฤษฎี
กฎหมาย นโยบายและแผนต่าง ๆ ที่ได้ศึกษาไว้ในบทที่ 3 นี้
3.4.2 ข้อจำกัดที่มีต่อการสนับสนุนนโยบายจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน
ตามหลักการสำคัญของนโยบายของ คทช. ที่ทบทวนในบทที่ 2 ได้แก่ อนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ใน
ที่ดินของรัฐโดยกลุ่มหรือชุมชน การแก้ไขปัญหาความยากไร้ และการป้องกันปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ
เพิ่มเติม พบว่าโดยทั่วไปแล้วมีความสอดคล้องและสนับสนุนซึ่งกันและกันกับแนวคิดทฤษฎี และนโยบายและ
แผนที่ศึกษาไว้ตามบทที่ 3 นี้ อย่างไรก็ตาม ในด้านกฎหมายและระเบียบ พบว่ายังมีข้อจำกัดที่อาจเป็น
อุปสรรคต่อการดำเนินงานตามนโยบาย คทช. ในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
1) บทบัญญัติที่มีอยู่ไม่เอื้อต่อการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน
(1) ตามนโยบาย คทช. สนับสนุนให้มีการใช้ประโยชน์ในที่ดินโดยชุมชน โดยให้ปรับใช้กฎหมายที่มีอยู่
ในการจัดที่ดิน กฎหมายแม่บทในการอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ คือ พระราชบัญญัติ
ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 แต่ในขณะที่บทบัญญัติของพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ยังไม่
เอื้อต่อการสนับสนุนสิทธิของชุมชนหรือกลุ่มราษฎรตามเจตนารมณ์ของนโยบายดังกล่าว แต่เป็นการอนุญาต
์
เป็นรายบุคคล ข้อจำกัดนี้ จึงนำไปสู่การออกหลักเกณฑการจัดที่ดินโดยกำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับ
อนุญาต
(2) ถึงแม้ว่าระเบียบคณะกรรมการพิจารณาการใช้ประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตและการอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติ
พ.ศ. 2563 ซึ่งออกตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 จะเปิดช่องให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหรือ
กลุ่มสหกรณ์หรือกลุ่มราษฎร เป็นผู้รับอนุญาตตามนโยบายของ คทช. ได้ แต่กลุ่มดังกล่าวจะต้องรวมตัวกันเกิน
10 คน และต้องมีฐานะเป็นนิติบุคคลซึ่งได้รับการรับรองจากผู้ว่าราชการจังหวัดหรือหน่วยงานราชการอื่น การ
จดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคลก็เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายแม่บท ที่จะอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเป็น
รายบุคคลแต่อาจไม่ได้สะท้อนถึงความสัมพันธ์และวัฒนธรรมที่มีอยู่ในชุมชนนั้น ๆ