Page 95 -
P. 95
ื
ิ
ิ
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
์
ิ
80
บทที่ 4
ผลการสำรวจข้อมูลภาคสนาม
การศึกษาสภาพข้อเท็จจริง ปัญหาและอุปสรรค ในการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน ครอบคลุมสภาพพ้นที่
ื
ศักยภาพของพื้นที่และชุมชนในพื้นที่ รวมถึงสภาพเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของชุมชนในพื้นที่เป้าหมาย
ในที่ดินประเภทป่าสงวนแห่งชาติ ดำเนินงานโดยการสำรวจข้อมูลภาคสนาม ได้แก่ พื้นที่เป้าหมายที่ 1 ป่าพระ
ฉาย อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี และพื้นที่เป้าหมายที่ 2 ป่าปลายห้วยกระเสียว อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี
โดยการศึกษาข้อมูลปฐมภูมิโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview Research) และการสนทนา
กลุ่ม (Focus Group Research) เป็นหลัก ประกอบกับการพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการและการสังเกต
(Observation) เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ รวมทั้งการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารของทาง
ราชการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลจากสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 5 (สระบุรี) และสำนักจัดการทรัพยากร
ป่าไม้ที่ 4 สาขานครสวรรค์ กรมป่าไม้
ตามที่ได้นำเสนอไว้ในบทที่ 3.4.1 ผลการสำรวจข้อมูลภาคสนามจะนำไปใช้ในการประเมินผลโครงการ
ในบทที่ 5.1 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) ด้านผลผลิต
(Product) (สำหรับด้านบริบทสภาวะแวดล้อม (Context) เป็นการวิเคราะห์หลักการของนโยบาย คทช. ซึ่งได้
ทบทวนไว้แล้วในบทที่ 2) และการวิเคราะห์ข้อจำกัดและอุปสรรคในเชิงนโยบาย กฎหมาย มาตรการและ
องค์กร ในบทที่ 5.2 โดยอาศัยแนวคิดทฤษฎี กฎหมายและระเบียบ รวมถึงนโยบายและแผนตามที่ได้ทบทวน
ไว้ในบทที่ 3
4.1 พื้นที่ป่าพระฉาย อำเภอเมือง จังหวัดสระบุร ี
คณะผู้วิจัย ได้ลงพื้นที่ภาคสนามในพื้นที่ป่าพระฉาย โดยสัมภาษณ์ผู้ที่ได้รับจัดที่ดินที่เป็นเกษตรกร
และผู้ที่มิได้ประกอบอาชีพเกษตร รวมถึงผู้นำท้องถิ่น รวม 24 ราย และจัดการสนทนากลุ่มจำนวน 1 ครั้ง
การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างในการสัมภาษณ์ คณะผู้วิจัยได้ลงพื้นที่เพื่อหารือกับผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน
และเจ้าหน้าที่ป่าไม้ โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีการประกอบอาชีพที่หลากหลาย เช่น ปลูกไม้ผลยืนต้น ปลูก
พืชผสมผสาน ปลูกพืชผักสวนครัว ปลูกพืชไร่ เลี้ยงสัตว์ (วัว ควาย แพะ) เป็นต้น กลุ่มตัวอย่างที่ไม่มีที่ดินทำกิน
กลุ่มตัวอย่างที่เช่าที่ดินเพื่อทำการเกษตร กลุ่มตัวอย่างที่ทำการเกษตรเป็นอาชีพรอง รวมถึงกลุ่มตัวอย่างที่เป็น
ทายาทของผู้ที่ได้รับจัดที่ดินที่เสียชีวิตแล้ว
ข้อมูลทั่วไป
ป่าพระฉาย ได้รับการประกาศให้เป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวงฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2505)
ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองและสงวนป่าพุทธศักราช 2481 มีพื้นที่รวมทั้งสิ้นประมาณ 24 ตาราง