Page 87 -
P. 87
ิ
์
ิ
ิ
ื
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
72
อุตสาหกรรมจากป่าปลูกแบบครบวงจรสร้างกลไกหรือระบบตัดฟันระยะยาวที่ถูกต้องตามหลักวิชาการและ
กฎหมายสำหรับพื้นที่ที่อยู่นอกเขตพื้นที่ป่าไม้และพนที่ของเอกชน การแก้ไขปัญหาชุมชนที่ทำกินในเขตป่าโดย
ื้
เน้นการใช้ประโยชน์ที่ไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในรูปแบบคนอยู่กับป่าอย่างยั่งยืน การส่งเสริมการ
บริหารจัดการพื้นที่ป่าชุมชนและป่าครอบครัวแบบมีส่วนร่วม การสร้างเครือข่าย ภาคประชาชนทุกระดับอายุ
ให้มีส่วนร่วมในการอนุรักษทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
์
3.3.2 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564)
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) (แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12) จัดทำขึ้น
บนพื้นฐานของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) ซึ่งเป็นแผนแม่บทหลักของการพัฒนาประเทศ
และเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมทั้งการปรับโครงสร้างประเทศไทยไปสู่ประเทศไทย 4.0 ตลอดจน
ประเด็นการปฏิรูปประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นแผนที่มีลักษณะเป็นการแปลงยุทธศาสตร์ระยะยาวสู่การปฏิบัติ
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ประกอบด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ จำนวน 10 ยุทธศาสตร์ โดย
ยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดที่ดิน ได้แก ่
1) ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้าในสังคม
มีวัตถุประสงค์ เพื่อขยายโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมให้แก่กลุ่มประชากรร้อยละ 40 ที่มีรายได้
ต่ำสุด เพื่อให้คนไทยทุกคนเข้าถึงบริการทางสังคมที่มีคุณภาพได้อย่างทั่วถึง และเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้
ชุมชน
โดยมีการกำหนดแนวทางการพัฒนาไว้ในข้อที่ 3.1.3 คือ “สร้างโอกาสในการมีที่ดินทำกินของตนเอง
และยกระดับรายได้ โดยรัฐเข้าไปสนับสนุนการมีที่ดินทำกินอย่างยั่งยืนในรูปแบบที่ครบวงจร ตั้งแต่การจัดสรร
ที่ดินทำกินอย่างมีเงื่อนไขเพื่อป้องกันการเปลี่ยนมือผู้ได้รับการจัดสรรที่ดินให้แก่กลุ่มคนจนในภาคเกษตรที่ไร้
ที่ดินทำกิน การพัฒนาทักษะ ความชำนาญ การจัดสรรเงินทุนเพื่อประกอบอาชีพอย่างทั่วถึง การขยายโอกาส
ในการเข้าถึงข่าวสาร สารสนเทศและองค์ความรู้ในการประกอบอาชีพและการสนับสนุนด้านการตลาด
ตลอดจนส่งเสริมทักษะการบริหารเงินเพื่อให้สามารถจัดการรายได้ เงินทุน และหนี้สินอย่างมีประสิทธิภาพ
และสนับสนุนการจัดตั้งธนาคารที่ดิน เพื่อเป็นกลไกที่ทำให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดิน ที่จะช่วยให้
เกษตรกร กลุ่มเกษตร ผู้ยากจน ได้มีที่ดินทำกินและมีที่อยู่อาศัย” และข้อ 3.3 เสริมสร้างศักยภาพชุมชน การ
พัฒนาเศรษฐกิจชุมชน และการสร้างความเข้มแข็งการเงินฐานรากตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ มีสิทธิในการจัดการทุน ที่ดินและทรัพยากรภายในชุมชม ข้อย่อย 3.3.5
“สนับสนุนชุมชนให้มีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการ บริการ และการจัดการทรัพยากรในชุมชน ในลักษณะเป็น
หุ้นส่วนกับหน่วยงานของรัฐ อปท. ในการดูแลคุณภาพชีวิตประชาชน โดยเปิดรับสมาชิกทุกคนในท้องถิ่นโดย
ไม่เลือกปฏิบัติผลักดัน พ.ร.บ. โฉนดชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีการบริหารจัดการและใช้ประโยชน์จากที่ดินและ
ทรัพยากรในพื้นที่ร่วมกัน”