Page 8 -
P. 8

ิ
                                 ิ
                                               ์
                                           ิ
              โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                              ื
                                                                                ิ
                   •  เกษตรกรส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมนโยบายเป็นสมาชิกของสถาบันเกษตรกร (ธ.ก.ส. สหกรณ์การเกษตร และ

                       กลุ่มเกษตรกร) การเพิ่มความเข้มแข็งและบทบาทให้กับสถาบันเกษตรกรน่าจะช่วยให้นโยบายต่างๆ
                       ประสบความสำเร็จได้มากขึ้น

               ข้อเสนอแนะสำหรับแต่ละนโยบาย
                   ❑ ข้อเสนอแนะสำหรับนโยบายบริหารจัดการน้ำ

                       • ผลการศึกษาสะท้อนให้เห็นความสำคัญของทรัพยากรน้ำในการยกระดับสถานะทางเศรษฐกิจของ
                        เกษตรกร ดังนั้น ควรมีสนับสนุนการขยายเขตชลประทาน และส่งเสริมการขยายแหล่งน้ำนอกเขต
                        ชลประทาน อาทิ การทำบ่อจิ๋ว

                       • แม้ว่านโยบายการบริหารจัดการน้ำจะช่วยเพิ่มรายได้สุทธิ 10,365 บาท/ไร่/ปี แต่ยังพบว่ารายได้สุทธิ/
                        ไร่/ปีอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับต่างประเทศ โดยเฉพาะในเขตชลประทานซึ่งปลูกข้าวเป็นหลัก ดังนั้น
                        ควรหาแนวทางยกระดับประสิทธิภาพการผลิต และปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตใหม่ โดยเฉพาะการทำ

                        เกษตรผสมผสาน ดังที่ได้นำเสนอไว้ในข้อเสนอแนะในภาพรวม
                   ❑ ข้อเสนอแนะสำหรับนโยบาย ศพก.

                       • ควรบูรณาการการจัดอบรมระหว่างหน่วยงานต่างๆ โดยคำนึงถึงความต้องการของพื้นที่เป็นสำคัญ
                       • ควรพิจารณาปรับเปลี่ยนผู้นำเกษตรกรให้เป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ เนื่องจากมีความสามารถในการใช้
                        เทคโนโลยีดิจิทัลและสื่อสารออนไลน์ได้ หรือพิจารณาเพิ่มเติมองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและ

                        สื่อสารออนไลน์ให้กับผู้นำเกษตรกรรุ่นเก่า
                       • ควรปรับเปลี่ยนข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบโปสเตอร์ที่มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสูงและเกิดประโยชน์น้อย

                        ให้อยู่ในรูปของเทคโนโลยีดิจิทัลให้มากขึ้น
                       • ควรพิจารณาพัฒนาและปรับปรุงวิธีการถ่ายทอดความรู้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยจัดทำ
                        สื่อเนื้อหาวิชาให้ทันสมัย รูปแบบน่าสนใจ และตรงกับความต้องการของเกษตรกร และแนวโน้มตลาด

                        สินค้าเกษตร ตลอดจนเน้นการฝึกฝนในภาคปฏิบัติให้มากขึ้น พร้อมระบบการประเมินผลสัมฤทธิ์ที่ไม่ได้
                        วัดเพียงจำนวนผู้เข้าร่วมอบรมเท่านั้น
                       • ควรพิจารณาหาแนวทาง (อาทิ แรงจูงใจ) ให้เกษตรกรต้นแบบให้เวลากับการถ่ายทอดความรู้สู่เกษตรกร

                        ในพื้นที่ให้มากขึ้นเพื่อชดเชยค่าเสียโอกาสกับเวลาที่ใช้ในการถ่ายทอดความรู้เพื่อส่วนรวม
                       • ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดฝึกอบรมเพื่อให้การผลิตของ

                        เกษตรกรสอดคล้องกับความต้องการของตลาดมากขึ้น
                       • ปัจจุบันการสนับสนุนปัจจัยการผลิต/วัสดุอุปกรณ์ในการพัฒนาศักยภาพผ่านนโยบาย ศพก. มักเป็น
                        ค่าใช้จ่ายในงบดำเนินงานทำให้การพัฒนา ศพก. ต้องดำเนินการโดยสร้างจากวัสดุที่ไม่คงทนถาวร
                        ส่งผลให้ฐานเรียนรู้เป็นแบบชั่วคราวเสียหายได้ง่าย ดังนั้น ควรพิจารณาปรับรูปแบบการใช้จ่าย

                        งบประมาณให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้นและสอดคล้องกับการดำเนินงานตามภารกิจของ ศพก. แต่ละแห่ง
                       • ควรกำหนดบทบาทและภารกิจงานของศูนย์เครือข่ายที่ต้องดำเนินการให้เกษตรกรทราบอย่างชัดเจน
                       • ควรพิจารณาจำนวนศูนย์เครือข่ายให้สอดคล้องกับจำนวนของเกษตรกรในพื้นที่เพื่อให้การใช้
                        งบประมาณมีความสอดคล้องกับกิจกรรมของศูนย์เครือข่าย

                                                             vi
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13