Page 5 -
P. 5
ื
ิ
ิ
์
ิ
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ได้แก่ปีเพาะปลูก 2560/2561 2561/2562 และ 2562/2563 และข้อมูลสภาพอากาศจากสถานีตรวจอากาศทั่ว
ประเทศไทยจากกรมอุตุนิยมวิทยา โดยได้ทำการปรับข้อมูลอากาศจากสถานีตรวจอากาศให้สอดคล้องกับข้อมูล
ด้านการเกษตรที่อยู่ในรูปแบบขอบเขตการปกครองด้วยวิธี Weighted Least Square
โดยภาพรวมของข้อมูลที่ศึกษา พบว่า 79.29% ของครัวเรือนเกษตรเข้าร่วมอย่างน้อย 1 นโยบาย
ครัวเรือนเกษตรจะเข้าร่วมเฉลี่ย 1.81 นโยบาย และร้อยละ 0.52 ของครัวเรือนเกษตรเข้าร่วมทั้ง 8 นโยบายในช่วง
เวลาเดียวกัน โดยรูปแบบนโยบายที่ครัวเรือนเกษตรเข้าร่วมมากที่สุดในช่วงเวลาเดียวกัน 10 รูปแบบแรก ได้แก่
1) แผนการผลิตข้าวครบวงจร 2) แผนการผลิตข้าวครบวงจรและการบริหารจัดการน้ำ 3) บริหารจัดการน้ำ
4) แผนการผลิตข้าวและแปลงใหญ่ 5) แผนการผลิตข้าวและ ศพก. 6) แผนการผลิตข้าวและเกษตรทฤษฎีใหม่
7) แผนการผลิตข้าวและมาตรฐานสินค้าเกษตร GAP และ เกษตรอินทรีย์ 8) แผนการผลิตข้าว มาตรฐานสินค้า
เกษตร GAP/เกษตรอินทรีย์ และเกษตรทฤษฎีใหม่ 9) แผนการผลิตข้าวครบวงจร การบริหารจัดการน้ำ และ ศพก.
10) แผนการผลิตข้าว แปลงใหญ่ และการบริหารจัดการน้ำ จากข้อมูลเชิงประจักษ์ข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่า
ครัวเรือนเกษตร 1 ครัวเรือนได้รับประโยชน์มากกว่า 1 นโยบาย ดังนั้น การประเมินผลกระทบของนโยบาย โดย
พิจารณาเฉพาะนโยบายใดนโยบายหนึ่งเท่านั้น อาจทำให้ผลกระทบที่ประเมินได้ของนโยบายนั้น ไม่ใช่ผลกระทบ
ของนโยบายที่ต้องการประเมินอย่างแท้จริง ซึ่งการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการแก้ปัญหาการประมาณค่าที่เกิดขึ้นซึ่งน่าจะ
ทำให้ได้ผลการศึกษาที่สะท้อนถึงการประเมินผลกระทบของนโยบายที่ใกล้เคียงกับค่าที่แท้จริงมากขึ้น
โดยผลการศึกษา พบว่า เมื่อพิจารณาผลกระทบผ่านรายได้ของครัวเรือนเกษตรซึ่งวัดผ่าน 2 ตัวชี้วัด ได้แก่
รายได้เกษตรทางตรง และรายได้เกษตรทางตรงต่อไร่ถือครอง โดยการพิจารณารายได้ในส่วนนี้จะไม่รวมเงิน
อุดหนุนที่ครัวเรือนเกษตรได้รับจากภาครัฐทั้งในและนอกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อให้สะท้อนรายได้ที่
แท้จริงของเกษตรกรจากการผลิตทางการเกษตร งานศึกษาพบว่า นโยบายแปลงใหญ่ช่วยเพิ่มรายได้ให้ครัวเรือน
เกษตร 128,018 บาท/ครัวเรือน/ปี และนโยบายการบริหารจัดการน้ำช่วยเพิ่มรายได้ 397,793 บาท/ครัวเรือน/ปี
ขณะที่นโยบายแผนการผลิตข้าวครบวงจรทำให้รายได้ครัวเรือนเกษตรลดลง 67,637 บาท/ครัวเรือน/ปี นโยบาย
Zoning by Agri-Map ทำให้รายได้ครัวเรือนเกษตรลดลง 26,443 บาท/ครัวเรือน/ปี และนโยบายธนาคารสินค้า
เกษตรทำให้รายได้ครัวเรือนเกษตรลดลง 237,759 บาท/ครัวเรือน/ปี ส่วนนโยบายอื่นๆ ที่เหลือพบว่าไม่ได้ทำให้
รายได้ของครัวเรือนเกษตรเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับกรณีที่ไม่ได้เข้าร่วมนโยบาย เมื่อพิจารณารายได้เกษตร
ทางตรงต่อไร่ถือครอง พบว่า นโยบายการบริหารจัดการน้ำช่วยเพิ่มรายได้ให้ครัวเรือนเกษตร 18,401 บาท/ไร่/ปี
ขณะที่นโยบายแผนการผลิตข้าวครบวงจร ทำให้รายได้ครัวเรือนเกษตรลดลง 5,110 บาท/ไร่/ปี นโยบาย Zoning
by Agri-Map ทำให้รายได้ครัวเรือนเกษตรลดลง 2,629 บาท/ไร่/ปี และนโยบายธนาคารสินค้าเกษตรทำให้รายได้
ครัวเรือนเกษตรลดลง 20,382 บาท/ไร่/ปี โดยนโยบายอื่นๆ ที่เหลือไม่พบว่าทำให้รายได/ไร่/ปีของครัวเรือนเกษตร
้
เปลี่ยนแปลง
เมื่อพิจารณาผลกระทบผ่านต้นทุนการผลิตของครัวเรือนเกษตรซึ่งวัดผ่าน 2 ตัวชี้วัด ได้แก่ ต้นทุนการผลิต
ทางการเกษตรและต้นทุนการผลิตทางการเกษตรต่อไร่ถือครอง ผลการศึกษาพบว่า นโยบายแปลงใหญ่ทำให้ต้นทุน
การผลิตของครัวเรือนเกษตรเพิ่มขึ้น 107,255 บาท/ครัวเรือน/ปี นโยบายการบริหารจัดการน้ำทำให้ต้นทุนการ
ผลิตเพิ่มขึ้น 219,458 บาท/ครัวเรือน/ปี และนโยบาย Zoning by Agri-Map เพิ่มต้นทุนการผลิต 278,962 บาท/
ครัวเรือน/ปี ขณะที่นโยบายแผนการผลิตข้าวครบวงจรช่วยลดต้นทุนการผลิต 24,586 บาท/ครัวเรือน/ปี นโยบาย
iii