Page 7 -
P. 7
ิ
ื
์
ิ
ิ
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ครบวงจร นโยบาย Zoning by Agri-Map และนโยบายธนาคารสินค้าเกษตร โดยนโยบายแผนการผลิตข้าวครบ
วงจร ซึ่งมีครัวเรือนเกษตรที่ได้รับประโยชน์จากนโยบายนี้จำนวน 3.497827 ล้านครัวเรือน ทำให้มูลค่า
ผลประโยชน์ติดลบ 150,959 ล้านบาท/ปี ส่วนนโยบาย Zoning by Agri-Map ที่มีครัวเรือนเกษตรเข้าร่วม
ประมาณ 1.80% ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด ทำให้มูลค่าผลประโยชน์ติดลบ 4,785 ล้านบาท/ปี และนโยบาย
ธนาคารสินค้าเกษตรที่มีครัวเรือนเกษตรเข้าร่วมประมาณ 4.129% ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด ทำให้มูลค่า
ผลประโยชน์ติดลบ 41,790 ล้านบาท/ปี
เมื่อนำมูลค่าผลประโยชน์ทั้งเชิงบวกและเชิงลบของทั้ง 8 นโยบายข้างต้นมารวมกัน ผลการศึกษาพบว่า
ทั้ง 8 นโยบายเกษตรที่ศึกษา สร้างมูลค่าผลประโยชน์รวมเท่ากับ 180,686.25 ล้านบาท / และเมื่อนำมาหักลบ
ปี
กับต้นทุนงบประมาณที่ใช้จ่ายตลอด 3 ปี ของทั้ง 8 นโยบาย ซึ่งเฉลี่ยประมาณ 73,779 ล้านบาท/ปี ทำให้สามารถ
สรุปได้ว่า ทั้ง 8 นโยบายที่ศึกษาสามารถสร้างมูลค่าผลประโยชน์สุทธิเชิงบวกรวม +106,908 ล้านบาท/ปี สะท้อน
ให้เห็นว่าโดยภาพรวมการใช้จ่ายงบประมาณมีความคุ้มค่า อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาเป็นรายนโยบายจะพบว่ามี
เพียงนโยบายการบริหารจัดการน้ำเท่านั้นที่มีความคุ้มค่าเชิงเศรษฐกิจกับงบประมาณที่ใช้จ่าย ขณะที่นโยบายที่
เหลือพบว่ายังไม่มีความคุ้มค่ากับงบประมาณที่ใช้จ่าย และควรพิจารณาหาแนวทางปรับปรุงให้มีความคุ้มค่ามาก
ขึ้น นอกจากนั้น นโยบายเกษตรทั้ง 8 นโยบายพบว่ายังช่วยลดภาระหนี้สินของครัวเรือนเกษตรได้น้อยมาก ซึ่งควร
ปรับปรุงการดำเนินงานให้นโยบายสามารถช่วยลดภาระหนี้สินของครัวเรือนเกษตรได้เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพ
ชีวิตที่ดีให้กับเกษตรกร โดยมีข้อเสนอแนะที่สำคัญจากการศึกษาดังนี้ (อ่านข้อเสนอแนะโดยละเอียดเพิ่มเติมได้ใน
บทที่ 5)
ข้อเสนอแนะโดยภาพรวม
• ควรพิจารณาปรับเปลี่ยนนโยบายการให้เงินช่วยเหลือแบบให้เปล่าผ่านนโยบายต่างๆ ไปสู่การให้เงิน
ช่วยเหลือแบบมีเงื่อนไข (Conditional Transfer) เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรมีการปรับเปลี่ยนอันจะ
นำไปสู่การยกระดับประสิทธิภาพการผลิตและเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับเกษตรกร และยังสามารถประหยัด
งบประมาณเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในอนาคตได้อีกด้วย
• ควรสนับสนุนให้เกษตรกรเข้าอบรมรับความรู้เพิ่มเติมและฝึกปฏิบัติจริง พร้อมการประเมินผลสัมฤทธิ์ที่
ไม่ได้วัดเพียงจำนวนผู้เข้าร่วมอบรมเท่านั้น เช่น ความรู้ด้านตลาด การปลูกพืชอื่นที่ใช้น้ำน้อยแทนข้าว
การพัฒนาคุณภาพสินค้า และการใช้เครื่องจักรกลสมัยใหม่ และเพื่อให้การขยายผลองค์ความรู้สามารถทำ
ได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็ว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ควรพิจารณาขอความร่วมมือจากสถาบันการศึกษา
ในพื้นที่พร้อมกับงบประมาณสนับสนุนที่เพียงพอ
• ควรเพิ่มแนวทางดึงดูดแรงงานวัยหนุ่มสาวจนถึงวัยกลางคนที่มีศักยภาพให้หันมาทำเกษตรมากขึ้น อาทิ
การให้เงินช่วยเหลือพร้อมหลักประกันความเสียหายของผลผลิตในช่วงต้นของการทำเกษตร สินเชื่อ
ดอกเบี้ยต่ำ และระบบพี่เลี้ยงที่คอยให้คำปรึกษาเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง
• ส่งเสริมให้เกษตรกรรายย่อยเข้าถึงและใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ และสนับสนุน sharing economy ผ่านการ
ส่งเสริมตลาดเช่าบริการเครื่องจักรกลการเกษตร เป็นต้น
v