Page 6 -
P. 6
ิ
์
ิ
ิ
ื
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ธนาคารสินค้าเกษตรช่วยลดต้นทุนการผลิต 112,857 บาท/ครัวเรือน/ปี ส่วนนโยบายอื่นๆ ที่เหลือ ไม่พบว่าทำให้
ต้นทุนการผลิตของครัวเรือนเกษตรเปลี่ยนแปลง และเมื่อพิจารณาต้นทุนการผลิตทางการเกษตรต่อไร่ถือครอง
พบว่า นโยบายการบริหารจัดการน้ำทำให้ต้นทุนการผลิตของครัวเรือนเกษตรเพิ่มขึ้น 8,053 บาท/ไร่/ปี ขณะที่
นโยบายแปลงใหญ่ช่วยให้ต้นทุนการผลิตของครัวเรือนเกษตรลดลง 1,558 บาท/ไร่/ปี นโยบายแผนการผลิตข้าว
ครบวงจรช่วยต้นทุนการผลิต 1,986 บาท/ไร่/ปี นโยบาย Zoning by Agri-Map ช่วยลดต้นทุนการผลิต 845
บาท/ไร่/ปี และนโยบายธนาคารสินค้าเกษตรช่วยลดต้นทุนการผลิต 8,228 บาท/ไร่/ปี ส่วนนโยบายอื่นๆ ที่เหลือ
ไม่พบว่าทำให้ต้นทุน/ไร่/ปีของครัวเรือนเกษตรเปลี่ยนแปลง
เพื่อประเมินมูลค่าผลประโยชน์สุทธิของนโยบายเกษตรทั้ง 8 นโยบาย การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการคำนวณ
รายได้สุทธิเกษตรทางตรงของครัวเรือนเกษตร (รายได้เกษตรทางตรงลบกับต้นทุนการผลิตทางการเกษตร) โดยผล
การศึกษาพบว่า นโยบายการบริหารจัดการน้ำช่วยเพิ่มรายได้สุทธิเกษตรทางตรงให้กับครัวเรือนเกษตร 178,852
บาท/ครัวเรือน/ปี อย่างไรก็ตาม นโยบายแผนการผลิตข้าวครบวงจรกลับทำให้รายได้สุทธิเกษตรทางตรงของ
ครัวเรือนเกษตรลดลง 43,158 บาท/ครัวเรือน/ปี นโยบาย Zoning by Agri-Map ทำให้รายได้สุทธิเกษตรทางตรง
ของครัวเรือนเกษตรลดลง 32,976 บาท/ครัวเรือน/ปี และนโยบายธนาคารสินค้าเกษตรทำให้รายได้สุทธิเกษตร
ทางตรงของครัวเรือนเกษตรลดลง 125,568 บาท/ครัวเรือน/ปี ส่วนนโยบายอื่นๆ ที่เหลือ ไม่พบว่าทำให้รายได้
สุทธิเกษตรทางตรงของครัวเรือนเกษตรเปลี่ยนแปลง และเมื่อพิจารณาในมิติของรายได้สุทธิเกษตรทางตรงต่อไร่ถือ
ครอง ผลการศึกษาพบว่า นโยบายการบริหารจัดการน้ำช่วยเพิ่มรายได้สุทธิเกษตรทางตรง 10,365 บาท/ไร่/ปี
ขณะที่นโยบายแผนการผลิตข้าวครบวงจรกลับทำให้รายได้สุทธิเกษตรทางตรงของครัวเรือนเกษตรลดลง 3,133
บาท/ไร่/ปี นโยบาย Zoning by Agri-Map ทำให้รายได้สุทธิเกษตรทางตรงลดลง 689 บาท/ไร่/ปี และนโยบาย
ธนาคารสินค้าเกษตรทำให้รายได้สุทธิเกษตรทางตรงลดลง 12,195 บาท/ไร่/ปี ส่วนนโยบายอื่นๆ ที่เหลือ ไม่พบว่า
ทำให้รายได้สุทธิเกษตรทางตรง/ไร่/ปีของครัวเรือนเกษตรเปลี่ยนแปลง
ท้ายสุด การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการประเมินผลกระทบของนโยบายเกษตรทั้ง 8 นโยบายต่อภาระหนี้สินของ
ครัวเรือนเกษตร ซึ่งใช้ตัวชี้วัดภาระหนี้ของครัวเรือนเกษตรผ่านสัดส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สินรวมของครัวเรือนเกษตร
โดยผลการศึกษาพบว่า มีเพียงนโยบาย Zoning by Agri-Map ที่สามารถช่วยลดสัดส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สินรวม
ของครัวเรือนเกษตรเท่ากับ -0.38 ขณะที่นโยบายธนาคารสินค้าเกษตรกลับทำให้สัดส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สินรวม
ของครัวเรือนเกษตรเพิ่มขึ้น 0.18 ส่วนนโยบายอื่นๆ ที่เหลือ ไม่พบว่าทำให้สัดส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สินรวมของ
ครัวเรือนเกษตรเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด
ในขั้นตอนถัดไปการศึกษาได้ทำการประเมินมูลค่าผลประโยชน์ของนโบายทั้ง 8 นโยบายที่ครัวเรือนเกษตร
ได้รับประโยชน์ โดยนำรายได้สุทธิเกษตรทางตรงคูณกับจำนวนครัวเรือนเกษตรที่ได้รับประโยชน์จากนโยบาย
ภายใต้ข้อสมมติว่าครัวเรือนเกษตรมีจำนวนเท่ากับ 8.06 ล้านครัวเรือน ซึ่งเป็นข้อมูลที่รายงานจากฐานข้อมูล
Farmer One ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผลการศึกษาพบว่า นโยบายการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งมี 26.23%
ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมดเข้าถึงนโยบาย เป็นเพียงนโยบายเดียวที่สร้างผลประโยชน์เชิงบวกจากทั้ง 8 นโยบายที่
ได้ทำการศึกษา โดยสามารถสร้างมูลค่าผลประโยชน์เท่ากับ 378,221 ล้านบาท/ปี ซึ่งนับว่าคุ้มค่าเมื่อเทียบกับ
งบประมาณแผ่นดินที่ใช้จ่ายในแต่ละปีเฉลี่ย 60,742 ล้านบาท/ปี ขณะที่พบว่า 7 นโยบายที่เหลือยังไม่คุ้มค่ากับ
การใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดิน โดยมี 3 นโยบายที่กลับสร้างผลกระทบในเชิงลบ ได้แก่ นโยบายแผนการผลิตข้าว
iv