Page 10 -
P. 10
ิ
ิ
ื
์
ิ
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ข้อจำกัดด้านบุคลากรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นอกจากนั้น อาจพิจารณาหลักประกันแบบมี
เงื่อนไขให้กับเกษตรกรหากผลผลิตที่ได้รับไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับเกษตรกรใน
ิ
การปลูกพืชใหม่แทนพืชเดม
• ควรพิจารณาปรับปรุงข้อมูลในแผนที่ให้มีความเป็นปัจจุบันพร้อมกับทำการลงพื้นที่ภาคสนามเพื่อ
ตรวจสอบความแม่นยำของแผนที่ที่จัดทำขึ้น
• ควรทบทวนแนวทางใหม่โดยให้แต่ละหน่วยงานลงไปดำเนินการในพื้นที่เป้าหมายเดียวกันตามภารกิจ
ของแต่ละหน่วยงาน โดยหน่วยราชการที่เป็นเจ้าภาพหลักต้องกำหนดภาพใหญ่แล้วกระจายภารกิจให้
หน่วยงานร่วมบูรณาการไปปฏิบัติต่อ โดยอาจพิจารณาใช้ Joint KPI เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จในการ
ขับเคลื่อนนโยบายร่วมกัน
• นโยบายที่ใช้ในปัจจุบันอาจไม่ส่งผลให้เกิดการปฏิบัติจริงในพื้นที่ได้มากเท่าที่ควร เนื่องจากหน่วยงานที่
วางแผนไม่มีหน่วยปฏิบัติในพื้นที่ และในพื้นที่ก็อาจจะไม่ดำเนินการตามแผนเพราะเกษตรกรมักได้รับ
การชดเชยจากนโยบายอื่น ดังนั้น ควรกำหนดขอบเขตของการได้รับเงินช่วยเหลือจากนโยบายอื่นให้
ชัดเจนสำหรับเกษตรกร และหาแนวทางเพื่อให้หน่วยงานที่มีหน่วยปฏิบัติในพื้นที่ร่วมดำเนินการด้วย
• ควรเพิ่มรูปแบบการสื่อสารถึงผลประโยชน์ของนโยบายนี้ให้เกษตรกรสามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น เช่น
แสดงให้เห็นว่าต้นทุนและรายได้สุทธิจากการเปลี่ยนไปปลูกพืชที่เหมาะสมจะเป็นอย่างไรเทียบกับการ
ปลูกพืชที่ไม่เหมาะสม เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ การให้เกษตรกรดูเพียงแผน
ที่ว่าพื้นที่ของตนเหมาะสมกับการเพาะปลูกหรือไม่อาจไม่เพียงพอ
❑ ข้อเสนอแนะสำหรับนโยบายธนาคารสินค้าเกษตร
• ปัจจุบันพบว่าหน่วยงานต่าง ๆ บูรณาการการทำงานร่วมกันน้อยมาก ดังนั้น ควรบูรณาการการทำงาน
ร่วมกันระหว่างหน่วยงานให้มากขึ้น
• ควรลดการปรับเปลี่ยนแผนปฏิบัติที่มีการปรับเปลี่ยนบ่อยครั้ง เพื่อให้การดำเนินงานเกิดความต่อเนื่อง
• ควรเพิ่มความรู้ให้กับบุคลากรของหน่วยงานภาครัฐเรื่องของหลักบริหารจัดการธนาคาร
• รูปแบบปัจจุบันของธนาคารสินค้าเกษตรไม่ยั่งยืนเนื่องจากภาครัฐเป็นฝ่ายให้การสนับสนุนปัจจัยการ
ผลิตตลอด หากหยุดส่งเสริมเมื่อไหร่โครงการก็จะไม่สามารถดำเนินการต่อได้ ดังนั้นควรหาแนวทางที่จะ
ให้พื้นที่ดูแลตนเองเมื่อไม่มีความช่วยเหลือของภาครัฐ
❑ ข้อเสนอแนะสำหรับนโยบาย GAP/เกษตรอินทรีย์
• ควรพิจารณาใช้โอกาสจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเข้าช่วยในการติดตามและจัดทำมาตรฐานสินค้า
เกษตรเพื่อลดข้อจำกัดของบุคลากรที่มีไม่มาก และลดขั้นตอนการขอมาตรฐาน และให้ความรู้กับ
เกษตรกร พร้อมเตรียมความพร้อมเจ้าหน้าที่รุ่นใหม่ ให้มีความรู้ด้านการปฏิบัติตามเกษตรที่ดีขั้น
พื้นฐานและการปฏิบัติตามเกษตรที่ดีและเหมาะสม
• ส่งเสริมช่องทางการตลาดสำหรับสินค้า GAP ให้มีหลากหลายในพื้นที่ พร้อมสร้างความตระหนักรู้กับ
ผู้บริโภคเพื่อให้เห็นความสำคัญของสินค้า GAP และยินดีจ่ายมากขึ้น และเพิ่มความตระหนักรู้ให้กับ
เกษตรกรถึงความปลอดภัยจากการผลิตและการบริโภค
• ควรพิจารณาเพิ่มเงินช่วยเหลือแบบมีเงื่อนไขกับเกษตรกรเพื่อดึงดูดให้เกษตรกรหันมาทำการผลิตแบบ
GAP มากขึ้น ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหากลไกตลาดล้มเหลวในเชิงเศรษฐศาสตร์ เนื่องจากนโยบายนี้ช่วย
viii