Page 11 -
P. 11

์
                                                                   ิ
                                           ิ
                              ื
                                 ิ
                                                                                ิ
              โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                        สร้างผลประโยชน์ให้สังคมโดยรวมได้เพิ่มเติมจากผลประโยชน์เพียงเศรษฐกิจ เพราะการผลิตแบบ GAP

                        จะช่วยทำให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคปลอดภัยจากการบริโภคสินค้าเกษตรที่ผลิตขึ้นอีกด้วย
                       • กรณีของนโยบายส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ควรพิจารณาจัดอบรมให้ความรู้เจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่อง สร้าง
                        นักส่งเสริมการเกษตรมืออาชีพด้านเกษตรอนทรีย์ จัดทีมทำงานโคชชิ่งเจ้าหน้าที่ใหม่ จัดเวทีแลกเปลี่ยน
                                                            ิ
                        เรียนรู้ (KM) ระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานระดับจังหวัด

                       • ควรพิจารณาปรับปรุงโปรแกรมพื้นฐานข้อมูลเกษตรอินทรีย์ของแต่ละหน่วยงานให้เป็นระบบเดียวกัน
                        และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อความสะดวกของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่
                   ❑ ข้อเสนอแนะสำหรับนโยบายส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่

                       • ควรกำหนดรูปแบบให้ยืดหยุ่นในการส่งเสริมเกษตรและการใช้พื้นที่ในแปลง
                       • ควรเพิ่มการบูรณาการระหว่างหน่วยงานให้มากขึ้น โดยจัดประชุมชี้แจงให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มี
                        บทบาทในการขับเคลื่อนโครงการอย่างแท้จริง และเน้นการบูรณาการเพื่อให้โครงการสามารถดำเนินได้
                        ในทางปฏิบัติและจัดทำคู่มือพร้อมแผนปฏิบัติงานที่ชัดเจนสำหรับทุกหน่วยงาน

                       • ควรเน้นคุณภาพของเกษตรกรที่เข้าร่วมและศักยภาพของพื้นที่ และลดการพิจารณาเป้าหมาย
                        ความสำเร็จของนโยบายคือจำนวนเกษตรกรที่เข้าร่วม นอกจากนั้น ควรพิจารณาส่งเสริมเกษตรกรราย
                        เดิมอย่างต่อเนื่องจนเห็นผลเป็นรูปธรรมพร้อมระบบการติดตามประเมินผลที่มีประสิทธิภาพและเงื่อนไข

                        การได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ
                       • นโยบายนี้มีปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างที่ไม่สามารถซื้อได้ครั้งละน้อยๆ แต่ต้องซื้อครั้งละมากๆ ซึ่งใน
                        บางครั้งแล้วเกษตรกรไม่มีความจำเป็นต้องซื้อในปริมาณที่มาก ดังนั้น ควรกำหนดปริมาณการซื้อแต่ละ

                        ครั้งให้สอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกร
                       • ควรมีการบูรณาการการจัดซื้อปัจจัยการผลิตของหน่วยงานภาครัฐให้อยู่ในช่วงเวลาเดียวกันเพื่อลด

                        จำนวนการมารับปัจจัยการผลิตของเกษตรกร
                       • ผู้รับผิดชอบหลักของโครงการฯ ในระดับส่วนกลางควรกำหนดแนวทางการดำเนินงานให้มีความชัดเจน
                        มากกว่าปัจจุบันและทำการสื่อสารลงไปยังเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในระดับพื้นที่
                       • ควรปรับแนวทางการถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อให้เกษตรกรสามารถได้รับองค์ความรู้อย่างทั่วถึงและ
                        รองรับจำนวนเกษตรกรที่เข้าร่วมมากขึ้นในแต่ละปี โดยอาจพิจารณาประสานกับสถาบันการศึกษาใน

                        พื้นที่ใกล้เคียงให้มาช่วยถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับเกษตรกร และเพิ่มช่องทางการเผยแพร่องค์ความรู้ให้
                        มากขึ้น พร้อมรูปแบบขององค์ความรู้ที่คำนึงถึงความแตกต่างของอายุและการศึกษาของเกษตรกรโดย
                        ใช้โอกาสจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น ทำคลิปวีดีโอถ่ายทอดองค์ความรู้เผยแพร่ในสื่อ
                        สังคมออนไลน์ต่างๆ เป็นต้น เพื่อให้เกษตรกรสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองตลอดเวลา

                       • ควรพิจารณาปรับแผนการดำเนินงานกับช่วงเวลาเริ่มปรับเปลี่ยนของเกษตรกรตามที่โครงการฯ ได้
                        กำหนดไว้ซึ่งนิยมกำหนดตามรายปีงบประมาณปกติของทางราชการให้สอดคล้องกันมากขึ้น เนื่องจาก

                        การปรับเปลี่ยนไปสู่แบบเกษตรทฤษฎีใหม่ต้องใช้ระยะเวลาหลายปีจึงจะเห็นผลเป็นรูปธรรม
                       • ควรชี้แจงให้เกษตรกรได้ทราบถึงความสำคัญของการจัดทำแผนการผลิต และให้ข้อมูลที่ชัดเจนถึงระดับ
                        ความช่วยเหลือของภาครัฐสำหรับนโยบายนี้



                                                             ix
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16