Page 13 -
P. 13

ิ
                                                                                ิ
                                                                   ิ
                              ื
                                           ิ
              โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                               ์
                                                      บทคัดย่อภาษาไทย

                       ที่ผ่านมาภาคเกษตรได้เผชิญปัญหาความเหลื่อมล้ำเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่ยังอยู่ใน
               ฐานะยากจนเมื่อเทียบกับภาคเศรษฐกิจอื่น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของครัวเรือนเกษตร รัฐบาลไทยตั้งแต่อดีต

               จนถึงปัจจุบันได้ใช้นโยบายเกษตรในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งต้องใช้งบประมาณในแต่ละปีจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม
               ยังมีงานวิจัยที่ทำการประเมินผลกระทบขั้นสูงต่อความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจของเกษตรกรตลอดจนความคุ้มค่าของ
               การดำเนินนโยบายเหล่านี้ค่อนข้างน้อย และผลการศึกษาจากงานวิจัยในอดีตอาจก่อให้เกิดปัญหา “ความเอนเอียง
               ในการคัดเลือก” และไม่ได้คำนึงถึงกรณีที่ครัวเรือนเกษตรมักเข้าร่วมมากกว่า 1 นโยบายในเวลาเดียวกัน

                       งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบของนโยบายสาธารณะในภาคเกษตรจำนวน 8 นโยบาย
               ต่อรายได้สุทธิและภาระหนี้สินของครัวเรือนเกษตรไทยที่เข้าร่วมโครงการ โดยประยุกต์ใช้วิธีการประเมินผลกระทบ
               ด้วยค่าคะแนนความน่าจะเป็นของการเข้าร่วมโครงการแบบตัวแปรหลายทางเลือก พร้อมทำการสัมภาษณ์เชิงลึก
               ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสำรวจภาวะเศรษฐกิจ สังคม และแรงงานเกษตร ครอบคลุมปี

               การเพาะปลูก 2560/61-2562/2563 ร่วมกับข้อมูลสภาพอากาศซึ่งได้ทำการปรับข้อมูลอากาศให้สอดคล้องกับ
               ข้อมูลด้านการเกษตรที่อยู่ในรูปแบบขอบเขตการปกครองด้วยวิธี Weighted Least Square
                       โดยผลการศึกษา พบว่า นโยบายการบริหารจัดการน้ำช่วยเพิ่มรายได้สุทธิเกษตรทางตรงให้กับครัวเรือน
               เกษตร 178,852 บาท/ครัวเรือน/ปี อย่างไรก็ตาม นโยบายแผนการผลิตข้าวครบวงจรกลับทำให้รายได้สุทธิเกษตร

               ทางตรงของครัวเรือนเกษตรลดลง 43,158 บาท/ครัวเรือน/ปี นโยบาย Zoning by Agri-Map ทำให้รายได้สุทธิ
               เกษตรทางตรงของครัวเรือนเกษตรลดลง 32,976 บาท/ครัวเรือน/ป และนโยบายธนาคารสินค้าเกษตรทำให้รายได  ้
                                                                       ี
               สุทธิเกษตรทางตรงของครัวเรือนเกษตรลดลง 125,568 บาท/ครัวเรือน/ปี ส่วนนโยบายอื่นๆ ที่เหลือ ไม่พบว่าทำ

               ให้รายได้สุทธิเกษตรทางตรงของครัวเรือนเกษตรเปลี่ยนแปลง เมื่อพิจารณาผลกระทบของนโยบายต่อภาระหนี้ของ
               ครัวเรือนเกษตรผ่านสัดส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สินรวมของครัวเรือนเกษตร ผลการศึกษาพบว่า มีเพียงนโยบาย
               Zoning by Agri-Map ที่สามารถช่วยลดสัดส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สินรวมของครัวเรือนเกษตรเท่ากับ -0.38 ขณะที่
               นโยบายธนาคารสินค้าเกษตรกลับทำให้สัดส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สินรวมของครัวเรือนเกษตรเพิ่มขึ้น 0.18
                       เมื่อนำรายได้สุทธิเกษตรทางตรงคูณกับจำนวนครัวเรือนเกษตรที่ได้รับประโยชน์ พบว่า นโยบายการ

               บริหารจัดการน้ำเป็นเพียงนโยบายเดียวที่สร้างผลประโยชน์เชิงบวกจากทั้ง 8 นโยบายที่ได้ทำการศึกษา โดย
               สามารถสร้างมูลค่าผลประโยชน์เท่ากับ 378,221 ล้านบาท/ปี ซึ่งนับว่าคุ้มค่าเมื่อเทียบกับงบประมาณแผ่นดินที่ใช้
               จ่ายในแต่ละปีเฉลี่ย 60,742 ล้านบาท/ปี ขณะที่พบว่า 7 นโยบายที่เหลือและยังไม่คุ้มค่ากับการใช้จ่ายงบประมาณ

               แผ่นดิน โดยทั้ง 8 นโยบายที่ศึกษาสร้างมูลค่าผลประโยชน์เท่ากับ 180,686.25 ล้านบาท/ปี และเมื่อนำมาหักลบ
               กับงบประมาณที่ใช้จ่ายตลอด 3 ปี ประมาณเฉลี่ย 73,779 ล้านบาท/ปี ทำให้สรุปได้ว่า ทั้ง 8 นโยบายโดยภาพรวม
               สร้างมูลค่าผลประโยชน์สุทธิเชิงบวกรวม +106,908 ล้านบาท/ปี สะท้อนให้เห็นว่าโดยภาพรวมการใช้จ่าย
               งบประมาณมีความคุ้มค่า อย่างไรก็ตาม ควรมีการพิจารณาปรับปรุง 7 นโยบายที่เหลือ โดยงานศึกษาครั้งนี้ได้

               นำเสนอข้อเสนอแนะในหลายประการเพื่อปรับปรุงแก้ไขนโยบายต่างๆ อันจะนำไปสู่การยกระดับสถานะทาง
               เศรษฐกิจให้กับเกษตรกรไทยและเกิดความคุ้มค่ากับการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินในอนาคต

               คำสำคัญ :

               การประเมินผลกระทบ ภาคเกษตรไทย นโยบายเกษตร ศักยภาพในการทำกำไร หนี้สินครัวเรือน
                                                             xi
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18