Page 4 -
P. 4

ิ
                              ื
                                           ิ
                                               ์
                                                                   ิ
                                                                                ิ
              โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                       บทสรุปผู้บริหาร



               ชื่อเรื่อง (ภาษาไทย) : การประเมินผลกระทบของนโยบายสาธารณะที่หลากหลายต่อความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจ
                                   ของเกษตรกรไทย
                         (ภาษาอังกฤษ) : Impact evaluation of multi-public policies on economic well-being of Thai

                                     farmers
               ผู้วิจัย : นายวิษณุ อรรถวานิช ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หมายเลข
                       โทรศัพท์ 02-261-3474 ต่อ 211 โทรสาร 02-561-3474 ต่อ 501 email : witsanu.a@ku.ac.th
               งบประมาณและระยะเวลาทำวิจัย :
                       ได้รับงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบประมาณที่ได้รับ 648,000 บาท

                       ระยะเวลาทำวจัย ตั้งแต่ ตุลาคม 2563 ถึง กันยายน 2564
                                   ิ
               สรุปโครงการวิจัย :
                        ภาคเกษตรนับว่าเป็นภาคเศรษฐกิจที่มีความสำคัญมากต่อประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาภาค

               เกษตรได้เผชิญปัญหาความเหลื่อมล้ำเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สะท้อนจากผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของภาค
               เกษตรที่มีสัดส่วนลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันอยู่ที่ 8.63% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเบื้องต้น
               ขณะที่มีการจ้างงานสูงถึง 12.62 ล้านคน คิดเป็น 34% ของกำลังแรงงานทั้งหมด สะท้อนให้เห็นว่าเกษตรกรส่วน
               ใหญ่ยังอยู่ในฐานะยากจนเมื่อเทียบกับภาคเศรษฐกิจอื่น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของครัวเรือนเกษตร รัฐบาล

                                 ั
               ไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปจจุบันได้ใช้นโยบายเกษตรในหลากหลายรูปแบบ อาทิ การแทรกแซงราคาตลาด การส่งเสริม
               การเรียนรู้ การส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรเชิงพื้นที่ การส่งเสริมมาตรฐานสินค้าเกษตร เป็นต้น นโยบาย
               ต่างๆ ข้างต้นจำเป็นต้องใช้งบประมาณในแต่ละปีจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ยังมีงานวิจัยที่ทำการประเมินผล
               กระทบขั้นสูงต่อความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจของเกษตรกรตลอดจนความคุ้มค่าของการดำเนินนโยบายเหล่านี้ในภาค

               เกษตรค่อนข้างน้อย นอกจากนั้น การศึกษาจากงานวิจัยก่อนหน้านี้อาจก่อให้เกิดปัญหา “ความเอนเอียงในการ
               คัดเลือก” และเน้นประเมินผลกระทบเพียงนโยบายใดนโยบายหนึ่งเท่านั้น ขณะที่ครัวเรือนเกษตรมักเข้าร่วม
               มากกว่า 1 นโยบายในเวลาเดียวกัน

                       งานวิจัยชิ้นนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบของนโยบายสาธารณะในภาคเกษตรต่อรายได้สุทธิ

               และภาระหนี้สินของครัวเรือนเกษตรไทยที่เข้าร่วมโครงการ และต้องการสะท้อนความคุ้มค่าของการใช้งบประมาณ
               แผ่นดินที่มีอยู่อย่างจำกัด โดยนโยบายเกษตรที่ได้ทำการประเมินประกอบด้วย 8 นโยบาย ได้แก่ 1. ศูนย์เรียนรู้การ
               เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) 2. แปลงใหญ่ 3. การบริหารจัดการน้ำ 4. แผนการผลิตข้าวครบ
               วงจร 5. Zoning by Agri-Map 6. ธนาคารสินค้าเกษตร 7. มาตรฐานสินค้าเกษตร GAP/ เกษตรอินทรีย์ และ
               8. โครงการส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ การศึกษาครั้งนี้ได้ประยุกต์ใช้วิธีการประเมินผลกระทบของนโยบาย

               สาธารณะโดยใช้ค่าคะแนนความน่าจะเป็นของการเข้าร่วมโครงการ (Generalized Propensity Score) แบบตัว
               แปรหลายทางเลือก (Multi-Valued Treatment) พร้อมทำการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารหน่วยงานในกระทรวง
               เกษตรและสหกรณ์และผู้แทนเกษตรกรที่เกี่ยวข้องกับนโยบายที่ศึกษา โดยได้ใช้ข้อมูลจากแบบสำรวจภาวะ

               เศรษฐกิจ สังคม และแรงงานเกษตร ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โดยครอบคลุม 3 ปีการเพาะปลูก


                                                              ii
   1   2   3   4   5   6   7   8   9