Page 8 -
P. 8
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จะเห็นได้ว่าเป้าหมายของรัฐและของชุมชนมีเหมือนกันคือความต้องการในการอนุรักษ์พื้นที่ป่า
อย่างยั่งยืนเพื่อคนในรุ่นต่อไป แต่ตัวชี้วัดและแนวทางในการดําเนินการมีความแตกต่างกัน ดังนั้นแนวทาง
สําหรับการจัดการทรัพยากรและระบบนิเวศเกษตรอย่างยั่งยืนบนพื้นที่สูงเพื่อให้ระบบนิเวศสามารถคงอยู่
และให้บริการกับมนุษย์ได้ในอนาคตนั้น จําเป็นที่จะต้องอาศัยการบูรณาการองค์ความรู้ในเชิงสหวิทยากร
ในการจัดการโครงสร้าง บทบาทหน้าที่ให้เหมาะสมกับบริบทพื้นที่และศักยภาพของชุมชน กฎหมาย
ระเบียบข้อบังคับในเชิงนิติรัฐเพียงอย่างเดียวมิสามารถบริหารจัดการระบบนิเวศให้เกิดความยั่งยืนได้
เนื่องจากความแตกต่างกันดังนี้กฎหมายหรือนโยบายเดียวอาจไม่ได้เหมาะสมกับทุกคน (One size does not
fit all) การทํางานร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน NGOs และชุมชน จะช่วยหนุนเสริมในการจัดการ
ทรัพยากรให้เกิดความยั่งยืน เพราะแต่ละหน่วยงานมีศักยภาพและต้นทุนที่จะใช้ในการจัดการทรัพยากรได้
แตกต่างกัน จึงควรให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดําเนินการและนโยบายของรัฐ และควรสร้างความ
พร้อมให้กับชุมชนในการเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นจะเห็นได้ว่าชุมชนได้รับการพัฒนา
ศักยภาพจากหน่วยงานภาครัฐน้อยมาก มีเพียงครัวเรือนเดียวที่เข้าอบรมการทําการเกษตรในรอบห้าปีที่ผ่าน
มา และเมื่อให้ชุมชนอภิปรายกลุ่มเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์กับหน่วยงานองค์กรต่าง ๆ พบว่าชุมชนมี
ความสัมพันธ์กับ NGOs และหน่วยงานทางศาสนาในระดับมาก ความสัมพันธ์กับหน่วยงานส่วนท้องถิ่น
และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตในระดับปานกลาง และเครือข่ายต่าง ๆ และสถาบันทางด้านการศึกษาในระดับน้อย
แต่มิได้มีข้อมูลบ่งชี้จากชุมชนว่าหน่วยงานภาครัฐได้ลงไปพัฒนาทักษะความสามารถของชุมชนก่อนที่จะมี
นโยบายทวงคืนผืนป่า จะเห็นได้ว่าในบางพื้นที่ชุมชนชาวกะเหรี่ยง เช่น บ้านบางกลอยได้รับผลกระทบจาก
นโยบายดังกล่าวด้วยขาดการเตรียมการที่ดีของรัฐในการอพยพคนออกนอกพื้นที่ โดยรัฐไม่เข้าใจวิถีชีวิต
ของกะเหรี่ยงทําให้ชุมชนไม่สามารถดํารงชีวิตในพื้นที่ที่จัดหาได้อย่างมีความสุข ดังนั้นก่อนการดําเนิน
นโยบายดังกล่าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมควรบูรณาการในการเตรียมความพร้อมทั้งการส่งเสริมทักษะ
อาชีพที่เหมาะสมกับพื้นที่ใหม่ รวมทั้งความพร้อมทางจิตใจ และจิตวิญญาณ เป็นต้น ตัวอย่างที่ผ่านมาทําให้
ชุมชนบ้านกลางเกิดความกลัวและปรับตัว ยืดหยัดต่อสู้เพื่อสามารถทํากินในพื้นที่เดิม ดังนั้นเมื่อกล่าวถึง
ความสัมพันธ์ของชุมชนกับเจ้าหน้าที่รัฐกลับเป็นสิ่งที่ห่างไกลกับความสัมพันธ์ของชุมชนบ้านกลาง
นอกจากนั้นในเผยแพร่แนวคิดและวิธีการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน ชุมชนอื่น ๆ สามารถเรียนรู้จากโมเดล
ที่ประสบความความสําเร็จ การเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างชุมชนด้วยกันเองจะสร้างผลลัพธ์ได้
ดีแทนการจัดอบรมสร้างความเข้าใจต่าง ๆ โดยเฉพาะการจัดการการเกษตรอย่างยั่งยืน การเรียนรู้ที่น่าจะมี
ประสิทธิผลมากที่สุดคือการให้ชุมชนเรียนรู้จากตัวแบบที่ประสบความสําเร็จที่มีบริบทใกล้เคียงกัน เช่น
อาจจะเป็นชาติพันธุ์ที่ทําการเกษตรบนพื้นที่สูงภายใต้การดูแลของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมเช่นกัน สุดท้ายนี้การร่วมกันในการจัดการทรัพยากรระหว่างรัฐและชุมชนในการอนุรักษ์ป่า
น่าจะเป็นทางออกที่สร้างเสริมประสิทธิภาพในการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืนเพราะสัดส่วนเจ้าหน้าที่ของ
ซ