Page 10 -
P. 10
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทคัดย่อ
บ้านกลางเป็นชุมชนกะเหรี่ยงที่อิงอาศัยกับระบบนิเวศบริการจากระบบนิเวศป่าและระบบนิเวศ
เกษตร อีกทั้งพื้นที่การใช้ประโยชน์ของชุมชนอยู่ในเขตพื้นที่ซ้อนทับการพื้นที่เตรียมการประกาศเป็น
อุทยานแห่งชาติถํ้าผาไท ซึ่งแนวทางที่แตกต่างกันสร้างแรงกดดันในการบริหารจัดการทรัพยากรทั้งกับเจ้า
หน้ารัฐและชุมชนภายใต้มายาคติของคนกับป่า จึงเป็นที่มาของงานวิจัยนี้ในการศึกษา 1) จัดการทรัพยากร
และระบบนิเวศเกษตรของชุมชน 2) นโยบายรัฐในการจัดการพื้นที่ทับซ้อน 3) ผลของการจัดการทรัพยากร
ภายใต้บริบทของรัฐและชาวกะเหรี่ยงในพื้นที่สูงบ้านกลางตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ
สหประชาชาติ และเสนอแนะ 4) แนวทางสําหรับการจัดการทรัพยากรยั่งยืน โดยวิธีการทบทวนเอกสารที่
เกี่ยวข้อง การสังเกต การสํารวจด้วยแบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการอภิปรายกลุ่ม ผลการศึกษา
พบว่าชุมชนให้หลักการจัดการ ผลการศึกษาพบว่าการจัดการทรัพยากรโดยรัฐมีเป้าหมายที่สําคัญเชิงปริมาณ
ด้วยการเพิ่มพื้นที่ป่ าไม้ให้ได้ร้อยละ 40 ของประเทศโดยการใช้อํานาจนิติรัฐ ผ่านกฎหมายและ
พระราชบัญญัติต่าง ๆ ผลที่เกิดขึ้นคือพื้นที่ป่าอนุรักษ์เพิ่มมากขึ้นแต่ก็ยังไม่บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ใน
ขณะเดียวกันปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐและชุมชนก็เพิ่มมากขึ้น แต่ทว่าแรงกดดันนั้นก็ช่วยผลักดันให้
ชุมชนปรับตัวในการพัฒนาระบบการจัดการทรัพยากรโดยชุมชน โดยหลักสําคัญคือการจัดการให้ระบบ
นิเวศสามารถหน้าที่ของตนเองในการสร้างประโยชน์ให้กับชุมชนภายใต้แนวคิดกรรมสิทธิ์ชุมชน สมาชิก
ชุมชนมีสิทธิที่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ระบบการจัดการนี้ทําให้
เกิดความมั่นคงทางอาหารในระดับชุมชน ส่งเสริมกสิกรรมยั่งยืน (SDG 2) และการสร้างหลักประกันให้มี
การบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน (SDG 12) ความยากจน ความเปราะบาง และสิทธิทํากินตามกฎหมายก็ยัง
เป็นประเด็นที่ท้าทายต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป ดังนั้นแนวทางการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืนจึงควร
วางรากฐานนโยบายจากการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น ให้มีความยืดหยุ่นและเหมาะสมตามบริบทภูมิ
นิเวศวัฒนธรรมที่แตกต่างกันเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการอนุรักษ์ทรัพยากรอย่างยั่งยืนเชิงระบบและ
ยกระดับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจชุมชนให้สามารถยืนหยัดได้เอง
คําสําคัญ กะเหรี่ยง การพัฒนาอย่างยั่งยืน การจัดการทรัพยากร เกษตรบนพื้นที่สูง
อุทยานแห่งชาติถํ้าผาไท
ญ