Page 5 -
P. 5
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
แม้ว่าในระยะหลังตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ 7 พ.ศ. 2535-2539 เป็นต้นมารัฐ
เริ่มให้ความสนใจกับการรับฟังเสียงจากประชาชน ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากร
มากขึ้น ผนวกกับขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาชนผลักดันให้ประเทศไทยจะมี พ.ร.บ. ป่าชุมชน พ.ศ.
2562 เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู จัดการ และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรป่าไม้
อย่างยั่งยืน ภายใต้แนวคิดที่ว่าชุมชนได้ประโยชน์จากป่าชุมชนแล้วจะส่งผลให้ชุมชนดูแลรักษาทรัพยากร
ให้ดี แต่ พ.ร.บ. ก็ยังแยกขอบเขตพื้นที่อนุรักษ์ออกป่าชุมชนอยู่ดี ชุมชนบ้านกลางซึ่งแต่เดิมเคยป่าสงวน
แห่งชาติได้ถูกยกระดับในการอนุรักษ์เป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติถํ้าผาไท (เตรียมการ) แทนทําให้มีทางเลือก
ไม่มากนัก ไม่สามารถขอจัดตั้งเป็นพื้นที่ป่าชุมชนได้ สิทธิชุมชนตามจารีตประเพณียังไม่ได้รับการพิจารณา
และยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ทับซ้อนระหว่างรัฐและชุมชนได้
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าการจัดการของรัฐไทยเน้นการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้แบบรวมศูนย์ทั้งกับ
ชุมชนในพื้นที่ป่าและหน่วยงานของรัฐเอง แม้แต่งบประมาณที่ใช้ในการบริหารจัดการพื้นที่อนุรักษ์ อาทิ
อุทยานแห่งชาติต่าง ๆ ก็ล้วนจัดสรรมาจากส่วนกลาง อุทยานแต่ละแห่งมิสามารถบริหารจัดการงบประมาณ
จากรายได้ของตนเองได้ ประกอบกับกฎหมายต่าง ๆ ที่บังคับใช้เป็นกฎหมายที่บัญญัติโดยรัฐเมื่อนานแล้ว
ขาดการมีส่วนร่วมจากภาคประชาสังคมอย่างจริงจัง เนื้อหาบางส่วนอาจจะล้าสมัยโดยเฉพาะประเด็นเรื่อง
สิทธิมนุษยชนตามกรอบสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิเหนือทรัพยากรที่เท่าเทียมกัน และไม่สอดคล้องกับ
ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของประชาชนท้องถิ่นดั้งเดิมแห่งสหประชาชาติที่กล่าวถึงสิทธิของคนพื้นเมืองที่อยู่
อาศัยมาก่อน นอกจากนั้นยังอาจมีปัญหาเชิงโครงสร้าง ระบบ บทบาทหน้าที่ที่ต่างทําภายใต้กฎหมาย
งบประมาณแยกส่วน จึงมีลักษณะการดําเนินการที่กระจัดกระจายยังขาดการบูรณาการที่ตอบโจทย์การ
พัฒนาอย่างยั่งยืนที่สมดุลในทุกมิติทั้งระบบนิเวศ เศรษฐกิจและสังคม ผลจากการดําเนินการของรัฐที่ผ่าน
มาทําให้พื้นที่ป่าอนุรักษ์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ. 2558 เป็นต้นมา แต่เมื่อพิจารณาพื้นที่ป่าประเภทอื่น
ๆ ร่วมด้วยแล้วพื้นที่ป่าของประเทศก็มีการเพิ่มขึ้นลดลงเป็นช่วง ๆ แต่โดยรวมก็มีแนวโน้มที่ดีขึ้นแต่ยังไม่
บรรลุเป้าหมายตามกรอบที่รัฐวางไว้ รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของพื้นที่การจดทะเบียนป่าชุมชนด้วย แต่ด้วย
นโยบายในการจัดการป่ าไม้ของรัฐไทยอิงกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองค่อนข้างมากทําให้มติ
คณะรัฐมนตรีต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดการทรัพยากรป่าไม้ ทําให้ไม่สามารถนําไปปฏิบัติได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดความสับสนของผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียจากมติดังกล่าว และ
นโยบายหรือแนวปฏิบัติต่าง ๆ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาสิทธิทํากินของชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบ้านกลางได้ แต่
ในทางกลับกันแรงกดดันจากตัวแสดงรัฐไทยก็สร้างแรงผลักดันในการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิ์ในที่ดินตาม
จารีตประเพณีของชุมชนบ้านกลางเป็นอย่างมาก มีทั้งการจัดทําข้อมูลทรัพยากร การจัดระบบการบริหาร
จัดการทรัพยากรให้เกิดความยั่งยืนให้เป็นที่ประจักษ์
จ