Page 3 -
P. 3
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทสรุปผู้บริหาร
ชุมชนบ้านกลางเป็นถิ่นที่อยู่ของกระเหรี่ยงโปว์ ตั้งอยู่ในตําบลบ้านดง อําเภอแม่เมาะ จังหวัดลําปาง
ภาคเหนือของประเทศไทยซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความเป็นพหุสังคม ความหลากหลายทางชาติพันธุ์และเป็นพื้นที่
ที่มีความสําคัญต่อการให้บริการของระบบนิเวศ (Ecosystem services) อาทิ เป็นพื้นที่ป่าต้นนํ้าที่สําคัญของ
ประเทศและเป็นแหล่งความมั่นคงทางอาหาร ชาวกะเหรี่ยงมาจับจองตั้งถิ่นฐานในพื้นที่บ้านกลางมาหลาย
ร้อยปี มีวิถีชีวิตการทํากินที่อิงอาศัยกับธรรมชาติทั้งของป่าและการเกษตร ก่อนที่ต่อมารัฐไทยได้ประกาศ
พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ป่าสงวน และยกระดับเตรียมประกาศเป็นพื้นที่อนุรักษ์ตามนโยบายการอนุรักษ์และ
เพิ่มพื้นที่ป่าและการกันคนออกจากป่า ในปี พ.ศ. 2534 มีการเตรียมการและเตรียมพื้นที่เพื่อประกาศเป็นเขต
อุทยานถํ้าผาไททําให้เกิดการซ้อนทับกับพื้นที่ทํากินของชุมชนนํามาสู่ความขัดแย้งระหว่างรัฐและชุมชน
เป็นเวลายาวนาน
ข้อโต้แย้งในเรื่องคนควรอยู่กับป่าหรือไม่เป็นที่มาของงานวิจัยนี้ในการศึกษาถึงแนวทางการจัดการ
ทรัพยากรของรัฐไทยกับชาวกะเหรี่ยงบ้านกลางว่าเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องหรือแตกต่างกันอย่างไร
และส่งผลต่อการจัดการในพื้นที่อย่างไร ผลจากการจัดการจะก่อให้เกิดความยั่งยืนหรือไม่ โดยวิเคราะห์ตาม
เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติเป็นหลักสําคัญ รวมทั้งการถอดบทเรียนเพื่อการเสนอแนะ
แนวทางการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืนในบริบทชุมชนบ้านกลางและรัฐไทย ทั้งนี้ใช้การเก็บข้อมูลเชิง
คุณภาพและปริมาณด้วยแบบสอบถามทุกครัวเรือนในชุมชน การสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก และการ
อภิปรายกลุ่ม รวมถึงการศึกษาผ่านเอกสารที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐและชุมชน ในการวิเคราะห์และนําเสนอเป็น
การนําเสนอให้เห็นนัยยะ มุมมองของภาครัฐในการจัดการทรัพยากรผ่านการกําหนดนโยบายและกฎหมายที่
เกี่ยวข้อง และนโยบายเหล่านั้นส่งผลต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรในระดับประเทศอย่างไร และส่งผลต่อการ
ปรับตัวของชุมชนท้องถิ่นหรือไม่อย่างไร หรืออาจกล่าวได้ว่าการเปลี่ยนแปลงกับการจัดการทรัพยากรของ
ชุมชนเป็นไปตามเป้าประสงค์ของนโยบายรัฐหรือไม่ ในขณะเดียวกันก็นําเสนอวิถีชีวิตและการจัดการ
ทรัพยากรของชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบ้านกลางว่าส่งผลต่อความยั่งยืนในบริบทของพื้นที่อย่างไร โดยใช้การ
วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณตามกรอบแนวคิดการวิจัยโดยการวิเคราะห์
เอกสาร และการวิเคราะห์สถิติบรรยาย ภายใต้กรอบแนวคิดว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Concept of
sustainable development) แนวคิดการจัดการระบบนิเวศบริการ (Ecosystem system services) และแนวคิด
ว่าด้วยเรื่องกรรมสิทธิ์ (Property rights) โดยอาศัยแนวทางการวิเคราะห์แบบอุปนัย (Inductive analysis)
และการวิเคราะห์เชิงบรรยาย (Descriptive approach) ในการอธิบายข้อมูลรูปธรรมจากการศึกษาเพื่อตีความ
ปรากฎการณ์และสรุปผลการศึกษาตามกรอบเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable
development goals: SDG) เป้าหมายที่ 2 ความมั่นคงทางอาหาร เป้าหมายที่ 12 การผลิตและการบริโภคที่
ยั่งยืน เป็นหลักร่วมกับเป้าหมายที่ 1 การยุติความยากจนและ เป้าหมายที่ 15 ระบบนิเวศบกที่ยั่งยืน จะเห็นได้
ค