Page 4 -
P. 4
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ว่าทั้งสี่เป้าหมายนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างยิ่ง ระบบนิเวศที่ยั่งยืนจะนํามาซึ่งการผลิตที่ยั่งยืนและหากชุมชน
บริโภคอย่างยั่งยืนด้วยแล้วก็จะนํามาซึ่งความมั่นคงทางอาหารซึ่งจะสัมพันธ์ไปกับการยุติความยากจน
ในการจัดการทรัพยากรป่าไม้และการจัดการพื้นที่ทับซ้อนระหว่างรัฐและชุมชนที่อยู่มาดั้งเดิมอย่าง
ชุมชนบ้านกลางของรัฐไทย เน้นการจัดการผ่านตัวบทกฎหมาย พระราชบัญญัติและมติคณะรัฐมนตรีเป็น
หลัก สําหรับในพื้นที่ของชุมชนบ้านกลางมีการเตรียมการในจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติถํ้าผาไทตั้งแต่ปี พ.ศ.
2532 โดยครอบคลุมพื้นที่ 750,000 ไร่ อยู่ในเขต 5 อําเภอ 17 ตําบล ในปัจจุบันก็ยังเป็นอุทยานเตรียมการอยู่
แม้ว่าจะผ่านมาแล้วถึง 30 ปี เนื่องจาก มีการคัดค้านด้วยประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนของชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่ลง
หลักปักฐานอยู่มาแต่ตั้งเดิมมาเป็นข้อโต้แย้ง จึงกลายเป็นปัญหาพื้นที่ทับซ้อนกันระหว่างพื้นที่เขตอุทยานที่
กําลังเตรียมการกับพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทํากินของหลายชาติพันธุ์ จะเห็นได้ว่าในช่วงปี พ.ศ.2532 เป็นช่วง
ที่มีการยกเลิกสัมปทานไม้และประกาศปิดป่าเนื่องจากการลดลงของพื้นที่ป่าและความเสื่อมโทรมของระบบ
นิเวศป่าไม้เป็นอย่างมาก โดยในช่วงปี พ.ศ. 2516 -2541 เป็นช่วงที่พื้นที่ป่าไม้มีแนวโน้มลดลงมากที่สุด จ า
ก 138,566,875 ไร่ เหลือ 81,076,250 ไร่ การลดลงของพื้นที่ป่าเท่ากับ 2,053,236.61 ไร่ต่อปี โดยในปี พ.ศ.
2541 พื้นที่ป่าไม้เหลือเพียงร้อยละ 25 ของพื้นที่ประเทศเท่านั้น แม้ว่าในช่วงเวลาดังกล่าวจะมีการบังคับใช้
พ.ร.บ ต่าง ๆ ในการจัดการทรัพยากรป่าไม้และที่ดิน โดยการกําหนดขอบเขตพื้นที่และวิธีการใช้ประโยชน์
เช่น พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2507 พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2504 แต่ในขณะเดียวกันใน
ช่วงเวลานั้นก็ดําเนินนโยบายการให้สัมปทานป่าควบคู่ไปด้วย เป็นเหตุให้ป่าไม้ลดลงเป็นอย่างมาก
ตัวชี้วัดหลักในการดําเนินการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของภาครัฐที่ผ่านมาคือจํานวนพื้นที่ป่า ทั้งที่
กําหนดในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทุกฉบับ การกําหนดในแผนแม่บทการพิทักษ์ทรัพยากร
ป่าไม้ เป็นต้น โดยในปัจจุบันรัฐมีเป้าหมายให้เพิ่มพื้นที่ป่าให้ได้ร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศไทศ การ
ดําเนินการจึงมุ่งเน้นการเพิ่มจํานวนพื้นที่ป่าในเชิงปริมาณผนวกกับแนวคิดที่ว่าคนที่อยู่กับป่าไม่สามารถที่
จะอนุรักษ์และดูแลป่าไม้ได้ซึ่งสะท้อนได้จากนโยบายการทวงคืนผืนป่าที่รัฐพยายามที่จะย้ายชุมชนทั้ง
ชุมชนใหม่และชุมชนดั้งเดิมออกจากพื้นที่ป่าทั้งหมดด้วยข้อพิสูจน์สิทธิ์ทํากินตามกฎหมายเท่านั้น มิได้
พิจารณาถึงสิทธิดั้งเดิมตามจารีตประเพณีหรือหลักฐานอื่นใดที่ปรากฎ นํามาซึ่งความขัดแย้งในการใช้
ประโยชน์จากระบบนิเวศป่าระหว่างรัฐและชุมชนรวมทั้งชุมชนบ้านกลางด้วย โดยในช่วงแรกรัฐต้องการ
ย้ายชุมชนออกไปตั้งถิ่นฐานในที่แห่งใหม่ที่ได้จัดเตรียมไว้ให้ แต่ชุมชนเห็นว่าพื้นที่ดังกล่าวไม่มีศักยภาพใน
การผลิตเพื่อการดํารงชีพได้ อีกทั้งชุมชนมีทักษะเฉพาะในการทํากินที่สัมพันธ์กับลักษณะภูมิศาสตร์และ
ระบบนิเวศเดิม จึงพยายามเคลื่อนไวต่อสู้ในการอยู่อาศัยในพื้นที่เดิม ด้วยการประณีประนอมจากหน่วยงาน
รัฐและอุทยานเตรียมการถํ้าผาไทจึงมีการทําข้อตกลงในการใช้ประโยชน์พื้นที่และการกําหนดขอบเขตใน
การใช้ประโยชน์ร่วมกัน
ง