Page 7 -
P. 7

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                       การจัดการดินสําหรับการเกษตร  แต่เป็นการปล่อยให้ดินฟื้นตัวเองตามกระบวนการทําหน้าที่ของ

               ระบบนิเวศธรรมชาติ  หลีกเลี่ยงการปลูกพืชเชิงเดี่ยว  หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีตามข้อตกลงของชุมชน  แม้ว่า
               จะมีบางครัวเรือนที่ขอใช้สารเคมีและใช้เหลือด้วยก็ตามแต่เป็นสัดส่วนที่น้อยมาก   โดยหลังเก็บเกี่ยวก็จะ

               ปล่อยให้เป็นพื้นที่สําหรับการเลี้ยงสัตว์  นอกจากจะช่วยกําจัดหญ้าและวัชพืชแล้วมูลสัตว์ยังเป็นปุ๋ ยในการ

               บํารุงดินอีกด้วย ทั้งนี้การจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและการเตรียมพื้นที่ไร่หมุนเวียนจะใช้วิธีการเผา
               เพื่อเปลี่ยนแปลงให้เป็นธาตุอาหารที่ดูดซับได้ไวขึ้นในรูปของขี้เถ้า   สําหรับวัสดุที่เหลือใช้หรือขยะจาก

               ครัวเรือนก็จะมีโครงการในการขัดแยกขยะโดยขยะที่เป็นโลหะและพลาสติกก็จะนําไปอัดและขายต่อไป


                       ทั้งนี้การบริหารจัดการทรัพยากรจะดําเนินการผ่านกลไกหลักที่สําคัญคือคณะกรรมการชุมชน  และ

               คณะกรรมการทางด้านศาสนา  มีโครงสร้างและหน้าที่ชัดเจนในการจัดการทรัพยากรโดยมีการประชุมเป็น

               ประจําทุก  1-2  เดือน  นอกจากจะทําหน้าที่ในการบริหารจัดการให้เป็นไปตามข้อตกลงของชุมชนแล้วยัง

               บริหารจัดการกองทุนหน่อไม้  กองทุนขยะ  และกองทุนสิบลด  ทั้งสามกองทุนล้วนมีส่วนช่วยในการจัดการ
               ทรัพยากร


                       การบริหารจัดการดังกล่าวแสดงนัยยะว่าระบบนิเวศบริการจะยังคงสามารถให้บริการต่าง  ๆ  ให้กับ

               ชุมชนได้  ไม่ว่าจะเป็นด้านการเป็นแหล่งผลิตอาหาร  การดํารงไว้ซึ่งวัฒนธรรม  การควบคุมกลไกและการ

               สนับสนุนการทํางานของระบบนิเวศให้เกิดความยั่งยืน  อีกทั้งด้วยระบบการผลิตในลักษณะนี้เป็นการช่วย
               ส่งเสริมให้ชุมชนเกิดความสามัคคี ช่วยเหลือกันในการลงแรงทางการเกษตร การสร้างระบบ การเคารพสิทธิ

               การใช้ประโยชน์ร่วมกันตามระบบของโฉนดชุมชน  แม้กระทั้งการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ไร่หมุนเวียนซึ่ง

               เป็นกรรมสิทธิ์ส่วนรวมก็ไม่เคยมีปัญหา  ชุมชนมีความมั่นคงทางอาหาร  สามารถเข้าถึงอาหารได้ตลอดเวลา

               บริโภคอาหารที่มีความหลากหลายและมีคุณภาพ มีสุขภาพที่ดี ระบบเศรษฐกิจชุมชนที่พอเพียงซึ่งสอดคล้อง
               ไปกับตัวชี้วัดการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ  SDG 2  การยุติความหิวโหย  สร้างความมั่นคงทาง

               อาหาร และการส่งเสริมการเกษตรกรรมยั่งยืน รวมทั้งเป้าหมายที่ 15 การปกป้องฟื้นฟูและการใช้ระบบนิเวศ

               ป่าไม้อย่างยั่งยืน เป้าหมายที่ 12 การสร้างหลักประกันในการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน ในขณะที่เป้าหมาย
               ที่ 2 12 และ 15 ในภาพรวมของประเทศแล้วยังมีความท้าทายอย่างมีนัยสําคัญ แต่ชุมชนกลับดําเนินการได้ดี

               แม้ว่าหนี้สินและการใช้จ่ายของครัวเรือนชุมชนจะทําให้กะเหรี่ยงบ้านกลางถูกจัดอยู่ในกลุ่มคนยากจนก็ตาม

               ซึ่งทําให้ไม่บรรลุ SDG 1 ในการยุติความยากจนซึ่งเป็นเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนอันเดียวที่ประเทศไทย

               สามารถดําเนินการได้ดีในภายรวมของประเทศ ทั้งนี้ประเด็นที่เป็นความท้าทายของชุมชนในการที่จะพัฒนา
               ต่อไปคือการลดความเปราะบางทางเศรษฐกิจของชุมชนและสร้างความยืนหยัด        (resilience)   ต่อการ

               เปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ จากภายนอก







                                                            ช
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12