Page 6 -
P. 6

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                       สําหรับการจัดการทรัพยากรป่าไม้และระบบนิเวศการเกษตรของชุมชนบ้านกลางนั้นอยู่บนฐาน

               ความคิดความเชื่อทางศาสนา และกรรมสิทธิ์ตามจารีตประเพณีและกรรมสิทธิ์ส่วนรวม (Common property)
               โดยเชื่อว่าไม่มีใครเป็นเจ้าของทรัพยากร ทรัพยากรป่าไม้ เป็นของพระเจ้า สมาชิกในชุมนเป็นเพียงผู้ใช้

               ประโยชน์ทรัพยากรเท่านั้น มีสิทธิในการเข้าถึง เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ จัดการ กีดกันผู้ที่มิได้เป็นสมาชิกจาก

               การใช้ประโยชน์ร่วมกัน มีการจัดทําโฉนดชุมชนที่เป็นมติชุมชนในการยอมรับสิทธิการใช้ประโยชน์ของ
               คนในชุมชน



                       ในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ก็ใช้ระบบการจัดแบ่งพื้นที่  (Zoning)  และการจํากัดขอบเขตพื้นที่การ
               ใช้ประโยชน์โดยชุมชนแบ่งออกเป็นพื้นที่อนุรักษ์ ป่าพิธีกรรม หมู่บ้านสัตว์ป่า และป่าใช้สอย รวมถึงการตั้ง

               กติกาการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรป่าไม้ร่วมกัน  อาทิ  การกําหนดช่วงเวลาในการหาของป่าบางประเภท

               การงดนําของป่าที่ใกล้จะหมดไปมาใช้ประโยชน์  ปล่อยให้ทรัพยากรได้เติบโตหมุนเวียนแทนที่  อีกทั้งภูมิ

               ปัญญาท้องถิ่นในการหาของป่าก็เป็นส่วนหนึ่งในการจํากัดจํานวนสมาชิกในชุมชนในการเข้าถึง เช่น การหา
               นํ้าผึ้ง  ครั่ง    สําหรับกิจกรรมและการดําเนินการเพื่อการอนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้ของชุมชนบ้านกลางหลัก  ๆ  คือ

               การทําแนวกันไฟ  การจัดเวรยามตามจุดสําคัญต่าง  ๆ  การลาดตระเวนเฝ้าระวังไฟป่าและการดับไฟป่า

               นอกจากจะสามารถควบคุมไฟป่าได้แล้วยังถือเป็นการช่วยสอดส่องบุคคลภายนอกที่อาจะเข้ามาบุกรุก  ตัด
               ไม้ในพื้นที่อีกด้วย  โดยในการจัดการไฟป่านั้นเป็นการทํางานร่วมกับภาครัฐ  โดยรัฐสนับสนุนงบประมาณ

               และใช้ประโยชน์จากการที่ชุมชนอยู่ใกล้ชิดกับทรัพยากรมากกว่าในการตรวจตราเฝ้าระวังไฟป่า  กิจกรรม

               เหล่านี้นอกจากจะเป็นประโยชน์กับชุมชนเองแล้วยังยังประโยชน์ให้กับภาครัฐซึ่งมีบุคลากรไม่เพียงพอใน
               การดําเนินการเองอีกด้วย



                       ในการจัดการระบบนิเวศเพื่อการเกษตรของชุมชนบ้านกลาง ไม่ว่าจะเป็นการจัดการดิน การจัดการ
               นํ้า แมลงศัตรูพืชและการจัดการเมล็ดพันธุ์ อยู่บนหลักการสําคัญ คือการปล่อยให้ระบบนิเวศตามธรรมชาติ

               ได้ทําหน้าที่ของตนเอง (Ecosystem function) ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผ่านการจัดสรรพื้นที่ 3 ส่วน คือพื้นที่

               สําหรับการทํานา  พื้นที่สวน  และพื้นที่ไร่หมุนเวียน  ที่มีความลาดชันมากขึ้นเป็นลําดับ  โดยการทําไร่
               หมุนเวียนยังเป็นหัวใจสําคัญในการผลิตและการบริโภคของชุมชน  ระบบการเกษตรของชุมชนบ้านกลาง

               เป็นการเกษตรที่อาศัยนํ้าฝนเป็นหลักไม่ว่าจะเป็นการทําไร่  นา  หรือสวน  โดยในการทํานาจะอาศัยนํ้าจาก

               เหมืองฝายด้วยบ้างเนื่องจากการทํานาใช้นํ้ามากที่สุด เป็นการนําภูมิปัญญาของท้องถิ่นซึ่งมีทั้งระบบฝายรวม

               และฝายส่วนตัวมาใช้ในการบริหารจัดการนํ้าภายใต้กติกาการจัดสรรนํ้าและการใช้ประโยชน์ของชุมชน
               ทั้งนี้การทําไร่หมุนเวียนเป็นการทําการเกษตรที่ใช้ระบบนิเวศบริการในการจัดการนํ้าเท่านั้น










                                                            ฉ
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11