Page 84 -
P. 84
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
Theories of Marital and Family Therapy
78
4) ความทุกข์ ความเจ็บปวดทางใจของฉันเกิดจากสถานการณ์ หรือคนอื่น ฉันไม่สามารถ
แก้ไขอะไรได้
5) ถ้ามีอะไรที่อาจเป็นอันตรายหรือน่ากลัว ฉันควรต้องกังวลอย่างมากเกี่ยวกับมัน
ั
6) การหลีกเลี่ยงปญหาต่างๆ ในชีวิตจะเป็นการดีกว่าจะเผชิญกับมันโดยตรง
7) คนเราต้องพึ่งพิงคนอื่นหรือสิ่งที่มีอ านาจมากกว่าตัวเอง
8) คนเราควรจะฉลาด ชนะ และประสบความส าเร็จในทุกๆ ด้าน
9) ถ้าอะไรบางอย่างเคยมีอิทธิพลหรือมีผลต่อชีวิตเรา มันก็จะเป็นเช่นนั้นตลอดไป
10) ความสุขจะเกิดได้ถ้าฉันไม่ต้องท าหรือรับผิดชอบอะไรเลย
11) ฉันไม่สามารถห้ามความรู้สึกหรืออารมณ์ได้
ความคิดความเชื่อที่ผิดไปจากความเป็นจริงซึ่งบุคคลมีต่อคู่ของตน และต่อความสัมพันธ์
(McKay, Fanning and Paleg, 1994 อ้างถึงใน Young & Long, 1997) มี 8 ประการ ดังต่อไปนี้
1. Tunnel vision
ั
การมองเห็นด้านลบของความสัมพันธ์และพฤติกรรมที่เป็นปญหาของคู่สมรส และละเลย
ส่วนที่ดีหรือด้านบวกของคู่สมรส
2. Assumed intent
การคาดเดาความตั้งใจของคู่สมรส ในคู่สมรสที่อยู่กินกันมาเป็นเวลานาน มักเกิดความเชื่อ
ว่าตนเองรู้ว่าคู่สมรสของตนคิดหรือต้องการอะไร โดยอาศัยเพียงค าพูดหรืออากัปกิริยา
เล็กน้อยของคู่สมรส
3. Magnification (catastrophizing ; Albert Ellis)
การมองขยายเหตุการณ์เกินจริง เช่น คู่สมรสมองว่าการจัดพิธีแต่งงานของตนเต็มไปด้วย
ข้อผิดพลาดมากมาย ทั้งที่จริงแล้วเกิดข้อผิดพลาดเพียงบางเรื่องและมีส่วนดีอยู่อีกไม่น้อย
4. Global labeling
การเหมารวมพฤติกรรมของคู่สมรส เช่น เธอเป็นคนไม่มีความรับผิดชอบ
5. Good-bad dichotomizing
การมีมุมมองแบบขาว-ด า ต่อความเป็นจริงและต่อคู่ของตน
6. Fractured logic
ตรรกะไม่สมบูรณ์ เช่น “สามีฉันคงไม่อยากให้ชีวิตสมรสของเราเป็นไปได้ด้วยดี เพราะเขา
พูดจาไม่ดีกับแม่ฉัน”