Page 83 -
P. 83
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทฤษฏีการบ าบัดคู่สมรสและครอบครัว
77
5. ลดความกลัวของคู่สมรสที่มีต่อความขัดแย้ง และช่วยให้คู่สมรสเรียนรู้ที่จะจัดการความ
ขัดแย้งอย่างถูกวิธี
6. มอบหมายการบ้านให้คู่สมรสน าสิ่งที่เรียนรู้ในชั่วโมงบ าบัดไปปฏิบัติต่อ
7. ผู้บ าบัดต้องเป็นตัวอย่างที่ดีของการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
การแก้ไขความคิดความเชื่อที่ไม่เหมาะสม (Correcting Cognitive Errors in
Relationships)
ั
แนวทางการบ าบัดที่มุ่งเน้นบทบาทส าคัญของความคิด ซึ่งเป็นสาเหตุของปญหาด้าน
อารมณ์และพฤติกรรมของมนุษย์ เรียกว่า Cognitive therapy หรือ Cognitive behavioral therapy
การประยุกต์ใช้ Cognitive therapy ในการบ าบัดและการให้การปรึกษาคู่สมรส จะเข้าไปจัดการ
ความคิดความเชื่อที่ไม่เหมาะสมที่บุคคลมีต่อคู่ของตน และมีต่อความสัมพันธ์
้
เปาหมายของการบ าบัดในเชิง Cognitive Behavioral Couple Therapy นอกจากจะมุ่งเน้น
ั
การปรับความคิดความเข้าใจที่มีผลต่อความทุกข์ใจของคู่สมรสในขณะปจจุบัน ยังมุ่งการสอนคู่
สมรสให้มีทักษะเฉพาะที่จะสามารถระบุ (identifying) และปรับ (modifying) ความคิดที่ไม่เหมาะสมที่
ั
้
อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อปองกันปญหาใหม่ที่จะเกิดขึ้น ในกระบวนการบ าบัด ผู้บ าบัดจึงต้องสอน
ผ่านกิจกรรม (activity) และมีลักษณะชี้น า (directiveness) ให้ความรู้และข้อมูลในฐานะที่เป็น
ผู้เชี่ยวชาญและผู้สังเกตการณ์ ขณะเดียวกันก็ช่วยพัฒนาความคิดความเข้าใจและการแสดง
พฤติกรรมที่เหมาะสมของคู่สมรสด้วย
Cognitive therapy มีความเชื่อว่า รูปแบบความคิดที่ไม่เหมาะสมสามารถแก้ไขได้ และ
การเปลี่ยนความคิดจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมของคู่สมรส
รูปแบบความคิดความเชื่อที่ไร้เหตุผล (Irrational Belief)
ั
Albert Ellis (1985 อ้างถึงใน อรพิน สถิรมน, 2561) อธิบายว่า ปญหาการปรับตัวที่ผิด
ส่วนใหญ่เกิดจากความเชื่อที่ไร้เหตุผล และได้กล่าวถึงรูปแบบความเชื่อที่ไร้เหตุผล (irrational
beliefs) ไว้ดังนี้
1) ทุกคนควรจะรักฉันและยอมรับทุกสิ่งที่ฉันท า
2) การกระท าบางอย่างเป็นสิ่งน่ากลัว-ชั่วร้าย และคนที่ท าควรจะถูกลงโทษอย่างหนัก
3) มันเป็นเรื่องน่ากลัว ถ้าสิ่งต่างๆ ไม่เป็นไปตามที่ฉันต้องการ
[Type text]