Page 79 -
P. 79
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทฤษฏีการบ าบัดคู่สมรสและครอบครัว
73 10
พฤติกรรมบ าบัดกับคู่สมรสและครอบครัว
(Behavioral Therapy for Couple and Family)
แนวทางหนึ่งในการช่วยเหลือคู่สมรสและครอบครัวที่มีประสิทธิภาพ โดยเป็นแนวทางการ
บ าบัดที่น าหลักการของทฤษฏีการเรียนรู้ (Principles of Learning Theory) มาประยุกต์ใช้เพื่อแก้ไข
ั
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมหรือเป็นปญหา (Maladaptive Behavior) โดยอาจใช้หลักการ
ของพฤติกรรมบ าบัด (Behavior Therapy) และพฤติกรรมบ าบัดผ่านการรู้คิด (Cognitive-Behavior
Therapy)
แนวคิดที่ส าคัญ
พฤติกรรมของมนุษย์ทั้งพฤติกรรมภายใน และพฤติกรรมภายนอก เกิดจากการเรียนรู้
ซึ่งอาจเป็นพฤติกรรม ที่เหมาะสม (Adaptive Behavior) หรือไม่เหมาะสม (Maladaptive
Behavior) ก็ได้
พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมสามารถปรับแก้หรือเปลี่ยนแปลงได้ โดยการท าให้เกิดการ
เรียนรู้ใหม่
ั
การเสริมแรง (reinforcement) เป็นปจจัยส าคัญที่ท าให้เกิดกระบวนการเรียนรู้
กระบวนการคิดการเข้าใจ (cognitive process) มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจ และพฤติกรรม
ของมนุษย์
รูปแบบกำรใช้พฤติกรรมบ ำบัดส ำหรับคู่สมรส
การประยุกต์พฤติกรรมบ าบัดมาใช้ในการบ าบัดและให้การปรึกษาคู่สมรส มีรูปแบบการ
บ าบัดดังต่อไปนี้
ั
1. การสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันของคู่สมรส และลดความสัมพันธ์ที่มีปญหา
โดยเปลี่ยนแปลงกระบวนการให้แรงเสริม ด้วยการส่งเสริมให้คู่สมรสเพิ่มการให้แรง
เสริมทางบวก (Positive Reinforcement) และลดการลงโทษ (Punishment)
2. การสอนทักษะใหม่ (teaching new skills) ที่มีความส าคัญต่อชีวิตคู่ เช่น การฝึกฝน
ทักษะการสื่อสาร (Communication training) การฝึกการกล้าแสดงออก (Assertiveness
ั
training) และการฝึกทักษะการแก้ไขจัดการปญหา (Problem-solving training)
3. การแก้ไขทัศนคติและรูปแบบความคิดที่ไม่เหมาะสมที่บุคคลมีต่อความสัมพันธ์และคู่
สมรส
[Type text]