Page 93 -
P. 93
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
1. การคัดเลือกสายพันธุ์ไรโซเบียมที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงในการตรึงไนโตรเจนของถั่วเหลืองตาแดง
พันธุ์พื้นเมืองแม่ฮ่องสอน ในห้องปฏิบัติการ
การศึกษาผลการใช้เชื้อ Bradyrhizobium spp.จำนวน 30 สายพันธุ์กับถั่วเหลืองตาแดงพันธุ์พื้นเมือง
แม่ฮ่องสอน ในสภาพไม่มีธาตุอาหารไนโตรเจน ในห้องปฏิบัติการของกลุ่มงานวิจัยจุลินทรีย์ดิน พบว่าการใส่เชื้อ
Bradyrhizobium spp.ทั้ง 30 สายพันธุ์ ทำให้รากถั่วมีการติดปม และสามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้และเมื่อ
เปรียบเทียบอัตรา การตรึงไนโตรเจนของเชื้อไรโซเบียมสายพันธุ์ต่าง ๆ ในรากถั่วกับกรรมวิธีไม่ใส่เชื้อ Bradyrhizobium
spp. สามารถคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพในการตรึงไนโตรเจนได้สูงที่สุดจำนวน 3 สายพันธุ์ คือ Bradyrhizobium
spp. สายพันธุ์ DASA 32019, DASA 32025 และ DASA 32116 ซึ่งมีอัตราการตรึงไนโตรเจนเท่ากับ 38.269, 41.343
และ 39.288 ไมโครโมลเอธิลีนต่อกระถางต่อชั่วโมงตามลำดับ โดยที่ DASA 32019 มีจำนวนปมเฉลี่ยเท่ากับ 74 ปม/ต้น
น้ำหนักสดปม 2.10 กรัม/ต้น น้ำหนักแห้งปม 0.48 กรัม/ต้น และน้ำหนักแห้งต้นเท่ากับ 4.50 กรัม/ต้น DASA 32025 มี
จำนวนปมเฉลี่ยเท่ากับ 108 ปม/ต้น น้ำหนักสดปม 2.93 กรัม/ต้น น้ำหนักแห้งปม 0.63 กรัม/ต้น และน้ำหนักแห้งต้น
เท่ากับ 5.92 กรัม/ต้น DASA 32116 มีจำนวนปมเฉลี่ยเท่ากับ 77 ปม/ต้น น้ำหนักสดปม 2.00 กรัม/ต้น น้ำหนักแห้งปม
0.46กรัม/ต้น และน้ำหนักแห้งต้นเท่ากับ 6.10 กรัม/ต้น (ตารางที่ 2) ที่ซึ่งสายพันธุ์ดังกล่าวเป็นสายพันธุ์ที่มีความ
เหมาะสมสำหรับนำมาใช้ในการผลิตปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมสำหรับถั่วเหลืองตาแดงพันธุ์พื้นเมืองแม่ฮ่องสอน นอกจากนี้ยัง
พบว่าไรโซเบียมที่แยกได้ทั้ง 30 สายพันธุ์เป็นเชื้อไรโซเบียมสกุลเดียวกับไรโซเบียมที่ผลิตเป็นปุ๋ยชีวภาพสำหรับถั่วเหลือง
ของกรมวิชาการเกษตร การเลือกใช้สายพันธุ์ผสมของเชื้อไรโซเบียมเพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการติดปมให้กับถั่วเมื่อปลูก
ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน เนื่องจากในสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน เชื้อไรโซเบียมที่คัดเลือกได้อาจมีประสิทธิภาพที่
แตกต่างกันด้วย (จิระศักดิ์, 2545)
85