Page 91 -
P. 91
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ของไรโซเบียมมาตรวจดูลักษณะและความบริสุทธิ์ของเชื้อใต้กล้องจุลทรรศน์ แล้วนำเชื้อไรโซเบียมมาเจือจางในน้ำกลั่นนึ่ง
ฆ่าเชื้อ คำนวณหาค่า Colony Forming Unit (CFU) ให้ได้จำนวน 10 CFU
8
- การปลูกและดูแลรักษาต้นถั่ววางแผนการทดลองแบบ CRD 3 ซ้ำ โดยนำเมล็ดถั่วที่เริ่มงอกมาปลูกในทรายที่
อบฆ่าเชื้อไว้ ก่อนกลบดินทำการปลูกเชื้อ ไรโซเบียมที่เตรียมมาหยดลงบนเมล็ดถั่วที่เพาะงอกแล้ว จำนวน 4 เมล็ดต่อขวด
โดยใช้สารละลายเชื้อ ไรโซเบียม 1 มิลลิลิตรต่อเมล็ดแล้วกลบด้วยดินทรายหนาประมาณ 1–2 ซม. จากนั้นเติมน้ำใน
กระป๋องด้านล่าง ปลูกถั่วไว้ในโรงเรือน เมื่อต้นถั่วเจริญเติบโตได้ 2 สัปดาห์ทำการถอนออกให้เหลือต้นถั่วจำนวน 2 ต้น
ต่อขวด ทำการรดน้ำและเติมสารละลายที่ปราศจากไนโตรเจนตามระยะเวลาที่กำหนด เมื่อถั่วเจริญเติบโตอายุ 35 วัน ทำ
การตรวจวัดการเจริญเติบโต ได้แก่ นับจำนวนปมต่อต้น หาน้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งของปม และดูประสิทธิภาพการ
ตรึงไนโตรเจน ตามวิธีการของ Boonkerd et al., 1978 จากนั้นทำการคัดเลือกสายพันธุ์ไรโซเบียมที่มีประสิทธิภาพดี
เหมาะสมสำหรับถั่วสายพันธุ์ที่นำมาใช้ทดสอบ ไปใช้ในการทดลองในกระถางต่อไป
- การวัดประสิทธิภาพการตรึงไนโตรเจนของถั่วที่ปลูกเชื้อไรโซเบียมสายพันธุ์ต่าง ๆ โดยทำการเก็บตัวอย่างราก
ถั่ว ตัดส่วนของลำต้นออกตั้งแต่ข้อแรก แยกเอาทรายออกอย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้ปมหลุดจากราก จากนั้น นำตัวอย่าง
รากถั่วและปมที่ติดอยู่กับรากทั้งหมดวางลงในขวดรูปชมพู่ (Erlenmeyer flask) ที่ทราบปริมาตรแน่นอนปิด ด้วยจุกยาง
ให้แน่นสนิท จากนั้นเติมแก๊สอะเซธิลีนลงในขวดเพื่อใช้เป็น substrate ของเอนไซม์ไนโตรจีเนส โดยใช้เข็มฉีดยาดูดอากาศ
ออกจากขวดแก้ว 10 % ของปริมาตรขวด แล้วฉีดแก๊ส อะเซธิลีนลงไปแทนที่อากาศ และบ่มไว้เป็นเวลา 30 นาทีจากนั้น
ใช้เข็มฉีดยาดูดแก๊สออกจากขวดที่บ่มไว้เพื่อนำไปฉีดและวิเคราะห์หาปริมาณเอธิลีนด้วยเครื่อง gas chromatograph
(GC)
การหาจำนวนปมราก และน้ำหนักแห้งของปมราก เมื่อถั่วมีอายุ 30-35 วัน หลังปลูก ทำการวัดปริมาณการตรึง
ไนโตรเจนแล้ว นำมานับจำนวนปมรากต่อต้นของถั่ว จากนั้นแยกปมรากไปอบที่ 80 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 48 ชั่วโมง
แล้วชั่งน้ำหนักแห้งปมรากเป็นรายต้น
การหาน้ำหนักแห้งของต้น และน้ำหนักแห้งของราก โดยหลังจากแยกปมรากออกจากต้นแล้ว นำส่วนของต้น
และรากถั่วเหลืองไปอบที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 48 ชั่วโมง เพื่อชั่งน้ำหนักแห้งของต้น และ ราก
2. ทดสอบการทำงานของเชื้อไรโซเบียมกับถั่วที่ปลูกในกระถางทดลองในสภาพโรงเรือน การทดสอบในกระถาง
ทดลองจะทำการวิเคราะห์สมบัติของดินก่อนและหลังปลูกถั่ว เปรียบเทียบ กรรมวิธีการใส่เชื้อ ไรโซเบียม และการใส่
ปุ๋ยเคมีสูตรแนะนำ บันทึกข้อมูลเมื่อถั่วออกดอก 50 เปอร์เซ็นต์โดยบันทึกค่าการตรึงไนโตรเจน จำนวนปม น้ำหนักปม
แห้ง และน้ำหนักต้นแห้ง และที่ระยะเก็บเกี่ยวบันทึก ผลผลิตฝักสดและฝักแห้งพร้อมเปลือกวิเคราะห์ผลทางสถิติ เลือก
กรรมวิธีที่ให้ผลผลิตสูงเพื่อทำการทดสอบในแปลงทดลอง
- การทดสอบในสภาพกระถางทดลอง ทำการศึกษาทดลองในโรงเรือนทดลอง ของกลุ่มงานวิจัยจุลินทรีย์ดิน
กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร เตรียมกระถางดินเผาเส้นผ่านศูนย์กลาง 16 นิ้ว และนำ
ดินตัวอย่างที่ใช้ปลูกมาจากแปลงปลูกข้าวและถั่วเหลือง ในพื้นที่ลุ่มน้ำปาย ต.ผาบ่อง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน มาวิเคราะห์
ระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินก่อนปลูก และค่าความเป็นกรด-ด่าง จากนั้นทำการย่อยดินและผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันดี
และแบ่งใส่กระถางทดลองจำนวน 30 กิโลกรัมต่อกระถาง วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 3 ซ้ำ 7 กรรมวิธี ดังนี้
1. ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียม สายพันธุ์ DASA32019 (A)
2. ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียม สายพันธุ์ DASA32025 (B)
3. ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียม สายพันธุ์ DASA32019 (C)
4. ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมสำหรับถั่วเหลืองของกรมวิชาการเกษตร
5. ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมผสม สายพันธุ์ A+B+C
6. ไม่ใส่เชื้อไรโซเบียม
7. ใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน(ปุ๋ยทริปเปิ้ลซุปเปอร์ฟอสเฟต(0-46-0) ในอัตรา 3 กิโลกรัมต่อไร่)
ทำการปลูกถั่วโดยคลุกเมล็ดด้วยปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียม และใส่ปุ๋ยเคมีตามอัตราที่กำหนดในกรรมวิธีการทดลอง
โดยปลูกถั่วจำนวน 4 ต้นต่อกระถางเก็บข้อมูลการเจริญเติบโตของต้นถั่ว และเมื่อต้นถั่วเริ่มออกดอกที่อายุ 30-35 วัน
83