Page 90 -
P. 90
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการตรึงไนโตรเจนและจำนวนปมให้แก่ถั่วเหลือง การปลูกเชื้อร่วมระหว่าง Pseudomonas sp.
และ Rhizobium sp. สามารถเพิ่มการเข้าเกาะติดรากของเชื้อไรโซเบียม กระตุ้นให้เกิดการสร้างปมของถั่ว (Cook and
Baker, 1983) นอกจากนี้ยังมีรายงานการใช้แบคทีเรียส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชตระกูลถั่วร่วมกับเชื้อไรโซเบียม เช่น
Azospirillum (Aung et al., 2 0 1 3 ), Azotobacter (Wu et al., 2 0 1 2 ) , Bacillus (Atieno et al., 2 0 1 2 ) ,
Pseudomonas (Zahir et al., 2011), Serratia (Pan et al., 2002) มีผลต่อการเจริญของรากขนอ่อน ปริมาณการหลั่ง
สาร flavonoid และจำนวนปมรากถั่วเพิ่มมากขึ้น จากผลการทดลองที่มีอย่างต่อเนื่องชี้ให้เห็นว่าการใช้ประโยชน์จาก
แบคทีเรียตรึงไนโตรเจนจะช่วยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรในการใช้ปุ๋ยเคมีไนโตรเจนได้มากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในดิน
ที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำมาก การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของแบคทีเรียไรโซเบียมที่แยกได้จากพื้นที่ลุ่ม
น้ำปาย ในการนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตร และนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียม เพื่อใช้ในการเพิ่ม
ศักยภาพการผลิตพืชตระกูลถั่วในระบบนิเวศที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
วิธีดำเนินการ
อุปกรณ์
1. เชื้อไรโซเบียมที่แยกจากดินในพื้นที่ลุ่มน้ำปาย จำนวน 30 สายพันธุ์
2. เมล็ดถั่วเหลืองตาแดงพันธุ์พื้นเมืองแม่ฮ่องสอน
3. Leonard’s jar
4. N-free medium
5. อุปกรณ์วัดการเจริญเติบโต (ตลับเมตร)
6. เครื่อง Gaschromatography
7. ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมผสม 3 สายพันธุ์ จากผลการคัดเลือกในระดับห้องปฏิบัติการ
8. ปุ๋ยเคมีได้แก่ ปุ๋ยยูเรีย ทริปเปิ้ลซุปเปอร์ฟอสเฟต และโพแทสเซียมคลอไรด์
9. สารเคมีในการวิเคราะห์ปริมาณอินทรียวัตถุ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเชียม ในดิน
วิธีการ
1. ทำการเก็บตัวอย่างดินในฤดูหนาว (ช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม) ฤดูร้อน (ช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน) และ
ฤดูฝน (ช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม) จากพื้นที่ 4 แหล่ง คือ 1) พื้นที่ป่าต้นน้ำ 2) ดินพื้นที่ทำการเกษตรต้นน้ำ 3) พื้นที่
ป่าปลายน้ำ และ 4) ดินพื้นที่ทำการเกษตรปลายน้ำ โดยขุดดินลึกจากผิวดิน 15 เซนติเมตร ขุดอย่างน้อย 5 หลุม ในพื้นที่
25 ตารางเมตร ตักดินมาหลุมละ 1 กิโลกรัม นำดินที่ได้มาผสมให้เข้ากัน ตักใส่ถุงพลาสติกประมาณ 2 กิโลกรัม ปิดปากถุง
ให้แน่น เพื่อนำไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการทำการศึกษาทดลองในห้องปฏิบัติการ และโรงเรือนทดลอง ของกลุ่มงานวิจัย
จุลินทรีย์ดิน กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร โดยใช้สถิติพื้นฐานในการทดลองคัดเลือก
เชื้อไรโซเบียมโดยคัดเลือกครั้งละ 30 สายพันธุ์ แบ่งเป็น 31 กรรมวิธี ได้แก่กรรมวิธีที่ใส่เชื้อไรโซเบียมสายพันธุ์ต่างๆ
ที่แยกได้จากดินในพื้นที่ลุ่มน้ำปาย 30 สายพันธุ์ และกรรมวิธีควบคุม (ไม่ใช้เชื้อไรโซเบียม)
- เตรียมดินทรายเพื่อปลูกทดสอบกับพืชตระกูลถั่ว โดยนำดินทรายมาทำความสะอาด แล้วบรรจุ ลงในขวด
(Leonard’s jar assembly) ที่เตรียมไว้ประมาณ ¾ ของขวด จากนั้นนำดินทรายที่ทำความสะอาดแล้วมาทำการนึ่งฆ่า
เชื้อด้วยไอน้ำ (autoclave) ที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส ความดัน 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว เป็นเวลา 20 นาที
- เตรียมเมล็ดถั่วเหลืองตาแดงพันธุ์พื้นเมืองแม่ฮ่องสอน โดยนำเมล็ดพันธุ์มาฟอกฆ่าเชื้อด้วยแอลกอฮอล์ และ
Clorox แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด จากนั้นนำไปเพาะลงในกระดาษเพาะจนเมล็ดมีรากงอก จึงย้ายลงปลูกในกระป๋องที่บรรจุ
ดินทรายที่ผ่านการอบฆ่าเชื้อแล้ว
- เตรียมสารละลายธาตุอาหารพืช (Plant nutrient solution) เตรียมในลักษณะ stock solution โดยเตรียม
สารละลายที่ไม่มีส่วนประกอบของไนโตรเจน (N-free medium) ตามสูตรของ Broughton and Dilworth (1971)
- เตรียมเชื้อโดยนำเชื้อไรโซเบียม ที่แยกได้จากพื้นที่ลุ่มน้ำปายจำนวน 30 สายพันธุ์ มา streak บน อาหาร
yeast mannitol agar (YMA) บ่มที่อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 3-7 วัน ขึ้นกับชนิดของเชื้อแต่ละสายพันธุ์ จากนั้นเก็บโคโลนี
82