Page 92 -
P. 92

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



               เก็บตัวอย่างรากมาวัดประสิทธิภาพการตรึงไนโตรเจนด้วยวิธี Acetylene Reduction Assay โดยทำการเก็บตัวอย่างราก
               ถั่วจำนวน 2 ต้น โดยตัดส่วนของลำต้นออกตั้งแต่ข้อแรก ล้างทำความสะอาดดินที่ติดมากับรากถั่ว ระวังไม่ให้ปมหลุดจาก
               ราก จากนั้นนำตัวอย่างรากถั่วทั้งหมดวางลงในขวดรูปชมพู่ (Erlenmeyer flask) ที่ทราบปริมาตรแน่นอนปิด ด้วยจุกยาง

               ให้แน่นสนิท จากนั้นเติมแก๊สอะเซธิลีนลงในขวดเพื่อใช้เป็น substrate ของเอนไซม์ไนโตรจีเนส โดยใช้เข็มฉีดยาดูดอากาศ
               ออกจากขวดแก้ว 10 % ของปริมาตรขวด แล้วฉีดแก๊สอะเซธิลีนลงไปแทนที่อากาศ และบ่มไว้เป็นเวลา 30 นาทีจากนั้นใช้
               เข็มฉีดยาดูดแก๊สออกจากขวดที่บ่มไว้เพื่อนำไปฉีดและวิเคราะห์หาปริมาณเอธิลีนด้วยเครื่อง gas chromatograph (GC)
                       การหาจำนวนปมราก และน้ำหนักแห้งของปมราก เมื่อถั่วมีอายุ 30- 35 วันหลังปลูก ทำการวัดปริมาณการตรึง
               ไนโตรเจนแล้ว นำมานับจำนวนปมรากต่อต้นของถั่ว จากนั้นแยกปมรากไปอบที่ 80 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 48 ชั่วโมง
               แล้วชั่งน้ำหนักแห้งปมรากเป็นรายต้น
                       การหาน้ำหนักแห้งของต้น และน้ำหนักแห้งของราก โดยหลังจากแยกปมรากออกจากต้นแล้ว นำส่วนของต้น
               และรากถั่วไปอบที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 48 ชั่วโมง เพื่อชั่งน้ำหนักแห้งของต้น และ ราก
                       บันทึกข้อมูล จำนวนปม น้ำหนักสดของปม น้ำหนักแห้งของปม และวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยใช้โปรแกรม
               IRRISTAT

               ระยะเวลา              ตุลาคม  2561 - กันยายน  2562
               สถานที่ทำการทดลอง     ณ กลุ่มงานวิจัยจุลินทรีย์ดิน  กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา  กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทาง
                                     การเกษตร  กรมวิชาการเกษตร
                                                  ผลการทดลองและวิจารณ์
                       ข้อมูลสภาพแวดล้อมขณะที่ทำการเก็บตัวอย่างดินในช่วงฤดูหนาว (เดือนธันวาคม) ฤดูร้อน (เดือนเมษายน) และ

               ฤดูฝน (เดือนกรกฎาคม) จากพื้นที่ 4 แหล่ง คือ 1) พื้นที่ป่าต้นน้ำ (19° 23' N 97° 57' E) ดินพื้นที่ทำการเกษตรต้นน้ำ
               (19° 23' N 97° 57' E) 3) พื้นที่ป่าปลายน้ำ (19° 11' N 97° 59' E) และ 4) ดินพื้นที่ทำการเกษตรปลายน้ำ (19° 11' N
               97° 59' E) ตัวอย่างดินต้นน้ำเก็บที่ บ้านแม่นะ อ.แม่นาเติง จ.แม่ฮ่องสอน ตัวอย่างดินปลายน้ำเก็บที่ บ้านผาบ่อง ต.ผา
               บ่อง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน พบว่า เมื่อทำการเก็บข้อมูลอุณหภูมิของดินและอากาศในขณะที่เก็บตัวอย่างดินในปี 2560
               พื้นที่ป่าปลายน้ำและพื้นที่เกษตรปลายน้ำมีอุณหภูมิดินและอุณภูมิอากาศต่ำกว่าพื้นที่ป่าต้นน้ำและพื้นที่เกษตรต้นน้ำ
               (Table 1) เมื่อนำตัวอย่างดินมาทำการแยกเชื้อไรโซเบียมจนได้เชื้อบริสุทธิ์ พบว่าในปี 2560 ช่วงฤดูหนาวมีจำนวน 10
               สายพันธุ์ ช่วงฤดูร้อนมีจำนวน 10 สายพันธุ์ และช่วงฤดูฝนมีจำนวน 10 สายพันธุ์ โดยทั้งหมดเป็น Bradyrhizobium
               spp. และได้นำเชื้อไรโซเบียมที่แยกได้ทั้งหมดไปทำการคัดเลือกสายพันธุ์ไรโซเบียมที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงใน
               การตรึงไนโตรเจนของถั่วเหลืองตาแดงพันธุ์พื้นเมืองแม่ฮ่องสอน และเลือกพันธุ์ที่ดีที่สุดจำนวน 3 สายพันธุ์ไปทดสอบใน
               ระดับกระถางทดลองต่อไป

               ตารางที่ 1 ข้อมูลอุณหภูมิดิน อุณหภูมิอากาศในช่วงที่เก็บตัวอย่างดินจากพื้นที่ลุ่มน้ำปาย จ.แม่ฮ่องสอน ในปี 2017
                                                     หนาว                 ร้อน                  ฝน
                          แหล่งที่เก็บ         อุณหภูมิ   อุณหภูมิ  อุณหภูมิ   อุณหภูมิ  อุณหภูมิ   อุณหภูมิ
                                                ดิน (°C)  อากาศ (°C)  ดิน (°C)  อากาศ (°C)  ดิน (°C)  อากาศ (°C)
                1. พื้นที่ป่าปลายน้ำ              19        24        23         29         26        31
                2. พื้นที่เกษตรปลายน้ำ            19        24        26         31         26        33
                3. พื้นที่เกษตรต้นน้ำ             22        29        27         33         28        34
                4. พื้นที่ป่าต้นน้ำ               22        27        25         31         27        32





                                                           84
   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97