Page 97 -
P. 97
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ซุปเปอร์ฟอสเฟต(0-46-0) ในอัตรา 3 กิโลกรัมต่อไร่ และปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ (0-0-60)ในอัตรา 0 กิโลกรัมต่อไร่
(กรมวิชาการเกษตร, 2551)
ตารางที่ 3 ผลวิเคราะห์สมบัติทางเคมีของดินก่อนปลูกถั่วเหลืองตาแดงพันธุ์พื้นเมืองแม่ฮ่องสอนในกระถางทดลอง
pH อินทรียวัตถุ ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ โพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้
ความลึก (ซม.) ดิน (เปอร์เซ็นต์) (มิลลิกรัม/กิโลกรัม) (มิลลิกรัม/กิโลกรัม)
0-20 6.59 2.029 84.225 205.60
จากผลการคัดเลือกเชื้อ Bradyrhizobium spp. ที่แยกได้จากดินบริเวณลุ่มน้ำปายโดยวิธี Leonard’s jar กับถั่ว
เหลืองตาแดงพันธุ์พื้นเมืองแม่ฮ่องสอน ได้เชื้อที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในการตรึงไนโตรเจนจำนวน 3 สายพันธุ์ นำเชื้อ
ไรโซเบียมทั้ง 3 สายพันธุ์มาทดสอบในระดับกระถางโดยปลูกถั่วเหลืองตาแดง ตามกรรมวิธีที่กำหนด และได้ดำเนินการนับ
จำนวนปมราก น้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งของรากและปมราก น้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งลำต้น และวัดค่าการตรึง
ไนโตรเจนของไรโซเบียมในปมรากของต้นถั่วเหลืองตาแดงในระยะออกดอก อายุ 35 วันหลังปลูก ผลการทดลอง พบว่า
ในกรรมวิธีที่ 3 (ใส่ปุ๋ยชีวภาพ Bradyrhizobium spp. สายพันธุ์ DASA32116) มีจำนวนปม น้ำหนักสดและน้ำหนักแห้ง
ปม มากที่สุดโดยมีจำนวนปมเท่ากับ 86 ปมต่อต้น น้ำหนักสดปม เท่ากับ 2.61 กรัม และ น้ำหนักแห้งปม เท่ากับ 0.51
กรัม ในทุก ๆ กรรมวิธีของจำนวนปม น้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งปม ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ น้ำหนักสดราก
น้ำหนักแห้งราก ในกรรมวิธีที่ 2 (ปุ๋ยชีวภาพ Bradyrhizobium spp. สายพันธุ์ DASA32025 มีน้ำหนักมากที่สุดเท่ากับ
8.69 และ 2.08 ตามลำดับ โดยในกรรมวิธีที่ 2 มีความแตกต่างจากกรรมวิธีที่ 5 (ปุ๋ยชีวภาพ Bradyrhizobium spp. ผสม
ระหว่างสายพันธุ์ DASA32019+ DASA32025+ DASA32116 และกรรมวิธีที่ 7 (ใส่ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำตามค่าวิเคราะห์
ดินคือใส่ปุ๋ยทริปเปิ้ลซุปเปอร์ฟอสเฟต (0-46-0) ในอัตรา 3 กิโลกรัมต่อไร่) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ น้ำหนักสดต้น
น้ำหนักแห้งต้นในกรรมวิธีที่ 3 (ใส่ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมสายพันธุ์ DASA32116 มีค่ามากที่สุดเท่ากับ 76.83 กรัม และ
17.41 กรัม ตามลำดับโดยกรรมวิธีที่ 3 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกรรมวิธีที่ 7 และค่าการตรึงไนโตรเจน
พบว่ากรรมวิธีที่ 7 (ใส่ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำตามค่าวิเคราะห์ดิน) มีค่าการตรึงไนโตรเจนมากที่สุดเท่ากับ 24.13 µmol
C 2H 4/ ต้น/ชั่วโมง รองลงมาได้แก่ กรรมวิธีที่ 4 (ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมสำหรับถั่วเหลืองของกรมวิชาการเกษตร) กรรมวิธีที่
3 (ใส่ปุ๋ยชีวภาพชีวภาพ Bradyrhizobium spp. สายพันธุ์ DASA32116) เท่ากับ 23.16 µmol C 2H 4/ ต้น/ชั่วโมง และ
พบว่ากรรมวิธีที่ 1, 2 และ 6 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกรรมวิธีที่ 7 (ตารางที่ 4)
89