Page 99 -
P. 99

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



               ตารางที่ 5 จำนวนฝักต่อต้น  จำนวนเมล็ดทั้งหมด น้ำหนักเมล็ดแห้ง  น้ำหนัก 100 เมล็ด ของถั่วเหลืองตาแดงเก็บเกี่ยว
               เมื่ออายุ 105 วันหลังปลูก
                     กรรมวิธี      จำนวนฝัก/ต้น  จำนวนเมล็ดทั้งหมด   น.น.เมล็ดทั้งหมด   น.น. 100 เมล็ด


                 Bradyrhizobium        52              161               30.57              15
                  DASA32019 (A)
                 Bradyrhizobium        67              225               33.15             14.26
                  DASA32025 (B)
                 Bradyrhizobium        57              207                29.7             15.01
                  DASA32116 (C)
                 Bradyrhizobium        53              172               26.44             14.91
                  sp. กรมวิชาการฯ
                 Bradyrhizobium        55              207               28.69             14.33
                     A+B+C
                     ไม่ใส่ปุ๋ย        55              195                27.2             14.33
                 ปุ๋ยทริปเปิ้ลซุปเปอร์  51             186               25.63             14.42
                 ฟอสเฟตในอัตรา 3

                   กิโลกรัมต่อไร่
                       CV             20.63            17.23             17.23             7.26
                                             สรุปผลการทดลองและข้อเสนอแนะ
                       การคัดเลือกสายพันธุ์ไรโซเบียมที่แยกจากดินที่เก็บตัวอย่างในช่วงฤดูหนาว (เดือนธันวาคม) ฤดูร้อน (เดือน
               เมษายน) และฤดูฝน (เดือนกรกฎาคม) จากพื้นที่ 4 แหล่ง คือ 1) พื้นที่ป่าต้นน้ำ (19° 23' N 97° 57' E) ดินพื้นที่ทำ
               การเกษตรต้นน้ำ (19° 23' N 97° 57' E) 3) พื้นที่ป่าปลายน้ำ (19° 11' N 97° 59' E) และ 4) ดินพื้นที่ทำการเกษตรปลาย

               น้ำ (19° 11' N 97° 59' E) จากบริเวณลุ่มน้ำปาย จ.แม่ฮ่องสอน โดยทำการคัดเลือกสายพันธุ์ไรโซเบียมที่เหมาะสมและมี
               ประสิทธิภาพสูงในการตรึงไนโตรเจนให้แก่ถั่วเหลืองตาแดงพันธุ์พื้นเมืองแม่ฮ่องสอน พบว่ามีสายพันธุ์ไรโซเบียมที่
               เหมาะสมจำนวน 3 สายพันธุ์ จาก30 สายพันธุ์ ได้แก่ Bradyrhizobium spp. สายพันธุ์ DASA 32019, DASA 32025
               และ DASA 32116 ซึ่งทั้งสามสายพันธุ์เหมาะสมสำหรับนำไปใช้ในการทำการทดลองในขั้นต่อ ๆ ไป
                       ผลของเชื้อ Bradyrhizobium spp. สายพันธุ์ DASA 3 2 0 1 9 ,  DASA 3 2 0 2 5  และ DASA 3 2 1 16 ที่มี
               ประสิทธิภาพสูงในการตรึงไนโตรเจนต่อการเจริญเติบโตของถั่วเหลืองตาแดงพันธุ์พื้นเมืองแม่ฮ่องสอน ในสภาพกระถาง
               ทดลอง ผลปรากฎว่ากรรมวิธีที่ 3 (ใส่ปุ๋ยชีวภาพ Bradyrhizobium spp. สายพันธุ์ DASA32116) มีจำนวนปม น้ำหนัก

               สดและน้ำหนักแห้งปม มากที่สุด น้ำหนักสดราก น้ำหนักแห้งราก ในกรรมวิธีที่ 2 (ปุ๋ยชีวภาพ Bradyrhizobium spp.
               สายพันธุ์ DASA32025) มีน้ำหนักมากที่สุดและ มีความแตกต่างจากกรรมวิธีที่ 5 (ปุ๋ยชีวภาพ Bradyrhizobium spp.
               สายพันธุ์ผสม DASA32019+ DASA32025+ DASA32116) และกรรมวิธีที่ 7 (ใส่ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำตามค่าวิเคราะห์ดิน)
               อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ น้ำหนักสดต้น น้ำหนักแห้งต้นในกรรมวิธีที่ 3 (ใส่ปุ๋ยชีวภาพ Bradyrhizobium spp. สายพันธุ์

               DASA32116) มีค่ามากที่สุด โดยกรรมวิธีที่ 3 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกรรมวิธีที่ 7 และค่าการตรึง
               ไนโตรเจนพบว่ากรรมวิธีที่ 7 (ใส่ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำตามค่าวิเคราะห์ดิน) มีค่าการตรึงไนโตรเจนมากที่สุด รองลงมาได้แก่
               กรรมวิธีที่ 4 (ปุ๋ยชีวภาพ Bradyrhizobium  japonicum สำหรับถั่วเป้าหมาย) กรรมวิธีที่ 3 (ใส่ปุ๋ยชีวภาพ



                                                           91
   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104