Page 104 -
P. 104
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
อย่างละ 10 พันธุ์ พบว่าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์แท้ พันธุ์ลูกผสม และพันธุ์ผสมเปิด ให้ผลผลิตลดลง 74 53 และ 62
เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ นอกจากนี้ Denmead and Shaw (1960) ยังได้ระบุว่าหากข้าวโพดขาดน้ำในช่วงหลังจากระยะ
สร้างเมล็ดสมบูรณ์แล้วจะทำให้ผลผลิตลดลง 21 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นจึงได้มีความพยายามพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดให้มี
ลักษณะที่ทนทานต่อความแห้งแล้งหรือมีประสิทธิภาพการใช้น้ำมากขึ้น โดยประสิทธิภาพการใช้น้ำ (Water use
efficiency; WUE) ของข้าวโพดนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่ สภาพภูมิอากาศ ลักษณะทางสรีรวิทยาของข้าวโพด
ลักษณะทางพันธุกรรม สมบัติของดิน เช่น เนื้อดิน ความสามารถในการอุ้มน้ำของดิน และวิธีการเขตกรรม ได้แก่ วันปลูก
ระยะปลูก การไถพรวน การคลุมดิน การกำจัดวัชพืช การใช้ปุ๋ย การให้น้ำ เป็นต้น (Huang et al., 2006) การเพิ่ม
ศักยภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภายใต้สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง จำเป็นต้องพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยง
สัตว์ให้มีความทนทานต่อสภาพแห้งแล้งและมีประสิทธิภาพสูงในการใช้น้ำในการเจริญเติบโตและสร้างผลผลิต ดังนั้นจึงได้
ศึกษาประสิทธิภาพการใช้น้ำของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมอายุเก็บเกี่ยวยาวสำหรับเป็นข้อมูลในการประเมินพันธุ์ต่อไป
วิธีดำเนินการ
อุปกรณ์
1. เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์ลูกผสมที่มีอายุเก็บเกี่ยวยาว (110-120 วัน) ได้แก่ พันธุ์ NSX102005
NSX112017 นครสวรรค์ 3 และ ซี.พี. 888 นิว
2. ปุ๋ยเคมี ได้แก่ ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) ปุ๋ยทริปเปิลซูเปอร์ฟอสเฟต (0-46-0) โพแทสเซียมคลอไรด์ (0-0-60)
3. ระบบน้ำหยด ประกอบด้วย เทปน้ำหยด หัวน้ำหยด ท่อพีวีซี
วิธีการ
ทำการทดลองในชุดดินสมอทอด (Very-fine, smectitic, isohyperthermic Chromic Haplusterts) ณ ศูนย์วิจัย
พืชไร่นครสวรรค์ ตำบลสุขสำราญ อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ วางแผนการทดลองแบบ split plot จำนวน 4 ซ้ำ ปัจจัย
หลักเป็นอัตราการให้น้ำ 3 ระดับ ได้แก่ อาศัยน้ำฝน ให้น้ำ 50% และ 100% ตามความต้องการน้ำของข้าวโพด ปัจจัยรอง
เป็นพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์ลูกผสม 4 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ NSX102005 NSX112017 นครสวรรค์ 3 และ ซี.พี. 888 นิว
วิเคราะห์สมบัติของดินทางเคมีที่ระดับความลึก 0-20 และ 20-50 เซนติเมตร พบว่าดินบนที่ระดับความลึก
0-20 เซนติเมตร มีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) 6.13 มีอินทรียวัตถุ 1.95 เปอร์เซ็นต์ มีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์
12 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และมีโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ 120 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ในขณะที่ดินล่าง ที่ระดับความลึก
20-50 เซนติเมตร มีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) 6.11 มีอินทรียวัตถุ 1.72 เปอร์เซ็นต์ มีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์
7 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และมีโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ 98 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ใส่ปุ๋ยเคมีในอัตรา 20-10-15 กิโลกรัม
ต่อไร่ ของ N-P 2O 5-K 2O วิเคราะห์สมบัติของดินทางกายภาพ พบว่า เนื้อดินเป็นดินเหนียวปนทรายแป้ง ความจุความชื้น
ของดินที่ระดับความลึก 0-100 เซนติเมตร มีความจุความชื้นสนาม (Field capacity: FC) 647 มิลลิเมตร ความจุความชื้นที่
จุดเหี่ยวถาวร (Permanent wilting point: PWP) 598 มิลลิเมตร และความจุความชื้นที่เป็นประโยขน์ (Plant available
water: PWP) 48.9 มิลลิเมตร
ก่อนปลูก 2 สัปดาห์ มีปริมาณน้ำฝนสะสม 92.4 มิลลิเมตร ซึ่งเพียงพอต่อการเพาะปลูก ปริมาณน้ำฝนตั้งแต่
ปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยว 475.9 มิลลิเมตร ในกรรมวิธีที่ให้น้ำเสริมได้ให้น้ำไปทั้งหมด 5 ครั้ง กรรมวิธีที่ให้น้ำ 50%ของ
ความต้องการน้ำ ได้รับน้ำฝนและน้ำที่ให้เสริมรวม 619.9 มิลลิเมตร ในขณะที่กรรรมวิธีที่ให้น้ำ 100%ของความต้องการ
น้ำ ได้รับน้ำฝนและน้ำที่ให้เสริมรวม 763.9 มิลลิเมตร (ภาพที่ 1 และตารางที่ 1) คำนวณความต้องการน้ำของข้าวโพด
โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์พืช (Kc) ตามคู่มือของ กรมชลประทาน (2554) โดย ETc = Kc x ETo
ETc : อัตราการคายระเหยน้ำของพืชที่ปลูก (ข้าวโพด)
ETo : อัตราการคายระเหยน้ำของพืชอ้างอิง (FAO, 1986)
ปลูกข้าวโพดวันที่ 15 พฤษภาคม 2562 ขนาดแปลงย่อย 7.5 x 8 เมตร ระยะปลูก 75 x 20 เซนติเมตร แบ่งใส่
ปุ๋ย 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ใส่ปุ๋ยรองพื้นพร้อมปลูก โดยใช้ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) ปุ๋ยทริปเปิลซูเปอร์ฟอสเฟต (0-46-0) และปุ๋ย
96