Page 103 -
P. 103
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทคัดย่อ
น้ำเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้มีความ
ทนทานแล้งควรมีการศึกษาประสิทธิภาพการใช้น้ำของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในแต่ละพันธุ์ ดังนั้นจึงได้ศึกษาประสิทธิภาพการ
ใช้น้ำของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์ลูกผสม 4 พันธุ์ที่ปลูกในชุดดินสมอทอด ณ ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ เพื่อใช้เป็นข้อมูล
ประกอบการประเมินพันธุ์ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดทนทานแล้ง วางแผนการทดลองแบบ split plot จำนวน 4 ซ้ำ
ปัจจัยหลักเป็นปริมาณการให้น้ำ ได้แก่ ไม่ได้ให้น้ำเสริม (อาศัยน้ำฝน) ให้น้ำเสริม 50% และ 100% ตามความต้องการน้ำ
ของข้าวโพด (ETc) ซึ่งได้รับปริมาณน้ำตลอดฤดูปลูกรวม 475.9 619.9 และ 763.9 มิลลิเมตรต่อฤดูปลูก ตามลำดับ
ปัจจัยรองเป็นพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์ลูกผสม ได้แก่ พันธุ์ NSX102005 พันธุ์ NSX112017 พันธุ์นครสวรรค์ 3 และ
พันธุ์ ซี.พี. 888 นิว ใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 20 10 และ 15 กิโลกรัมต่อไร่ ของ N, P 2O 5, K 2O
ผลการทดลองพบว่า ปริมาณน้ำที่ข้าวโพดได้รับมีผลต่อการให้ผลผลิตของข้าวโพดอย่างมีนัยสำคัญ โดยข้าวโพด
ที่ได้รับปริมาณน้ำ 763.9 มิลลิเมตรต่อฤดูปลูก ให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,019 กิโลกรัมต่อไร่ มากกว่าข้าวโพดที่ได้รับน้ำ 619.9
และ 475.9 มิลลิเมตรต่อฤดูปลูก ซึ่งให้ผลผลิตเฉลี่ย 930 และ 790 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่าง
พันธุ์ พบว่า ข้าวโพดพันธุ์ซีพี 888 นิว ให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,054 กิโลกรัมต่อไร่ มากกว่าพันธุ์นครสวรรค์ 3 และพันธุ์
NSX102005 ซึ่งให้ผลผลิตเฉลี่ย 894 และ 890 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ในขณะที่พันธุ์ NSX112017 ให้ผลผลิตต่ำที่สุด
เฉลี่ย 813 กิโลกรัมต่อไร่
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาประสิทธิภาพการใช้น้ำ พบว่าข้าวโพดที่ปลูกโดยอาศัยน้ำฝนที่ได้รับน้ำฝนตลอดฤดู
ปลูก 475.9 มิลลิเมตร มีประสิทธิภาพการใช้น้ำในการสร้างผลผลิตสูงที่สุด 1.66 กิโลกรัมผลผลิตต่อปริมาณน้ำที่ได้รับ
1 มิลลิเมตร ในขณะที่ข้าวโพดที่ได้รับน้ำ 619.9 มิลลิเมตรต่อฤดูปลูก มีประสิทธิภาพการใช้น้ำรองลงมา เฉลี่ย 1.50
กิโลกรัมผลผลิตต่อปริมาณน้ำที่ได้รับ 1 มิลลิเมตร และข้าวโพดที่ได้รับน้ำ 763.9 มิลลิเมตรต่อฤดูปลูก มีประสิทธิภาพการ
ใช้น้ำต่ำที่สุด 1.33 กิโลกรัมผลผลิตต่อปริมาณน้ำที่ได้รับ 1 มิลลิเมตร เมื่อเปรียบเทียบระหว่างพันธุ์ พบว่า พันธุ์ซีพี 888
นิว มีประสิทธิภาพการใช้น้ำสูงที่สุด เฉลี่ย 1.68 กิโลกรัมผลผลิตต่อปริมาณน้ำที่ได้รับ 1 มิลลิเมตร รองลงมาเป็นพันธุ์
NSX102005 พันธุ์นครสวรรค์ 3 พันธุ์ NSX112017 ซึ่งมีประสิทธิภาพการใช้น้ำ เฉลี่ย 1.43 1.42 และ1.30 กิโลกรัม
ผลผลิตต่อปริมาณน้ำที่ได้รับ 1 มิลลิเมตร ตามลำดับ
คำนำ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (2562) รายงานว่าในปีเพาะปลูก 2561 ประเทศไทยมีเนื้อที่เพาะปลูกข้าวโพด
เลี้ยงสัตว์ทั้งประเทศ 6,929,904 ไร่ มีเนื้อที่เก็บเกี่ยว 6,894,668 ไร่ ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รวมทั้งประเทศ 5,069,413
ตัน คิดเป็นผลผลิตต่อเนื้อที่ปลูกเฉลี่ย 735 กิโลกรัมต่อไร่ (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2562) ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ใน
ประเทศไทยส่วนใหญ่ปลูกโดยอาศัยน้ำฝน จึงเสี่ยงต่อความเสียหายต่อการให้ผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานการณ์ใน
ปัจจุบันที่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศรุนแรงมากขึ้น เช่น เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงยาวนานและการกระจายตัวของ
ฝนไม่เหมาะสม ข้าวโพดเป็นพืชที่มีประสิทธิภาพสูงในการใช้น้ำเพื่อสร้างชีวมวลและผลผลิต ข้าวโพดที่ปลูกในเขตอบอุ่น
ควรได้รับปริมาณน้ำฝนในช่วงฤดูปลูก 460-600 มิลลิเมตร ส่วนข้าวโพดที่ปลูกในเขตร้อนควรได้รับปริมาณน้ำฝนในช่วง
ฤดูปลูก 600-900 มิลลิเมตร (Fageria et al., 1997) การขาดน้ำของข้าวโพดส่งผลต่อการให้ผลผลิตแตกต่างกันไปตามแต่
ละระยะการเจริญเติบโต (Carkir, 2004) โดยพบว่าหากข้าวโพดขาดน้ำในช่วงระยะต้นกล้า จะส่งผลทำให้พัฒนาการของ
รากลดลง หากข้าวโพดขาดน้ำในช่วงที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางลำต้นสูงสุดจะส่งผลต่อการพัฒนาส่วนต่าง ๆ ทำให้
ข้าวโพดลำต้นเตี้ยและพื้นที่ใบลดลงและทำให้ผลผลิตลดลง 25 เปอร์เซ็นต์ (Denmead and Shaw, 1960) ช่วงที่วิกฤต
ต่อการขาดน้ำมากที่สุดของข้าวโพดอยู่ในระยะ 10-14 วันก่อนและหลังออกดอก หากข้าวโพดขาดน้ำในช่วงดังกล่าวจะทำ
ให้ผลผลิตลดลง โดยเมล็ดจะติดไม่เต็มฝัก หรือไม่ติดเมล็ด (Grant et al., 1989; Huang et al., 2006) และทำให้ผลผลิต
ลดลง 50 เปอร์เซ็นต์ (Denmead and Shaw, 1960) Grudloyma et al. (2005) ทดลองงดให้น้ำตั้งแต่ช่วงออกดอก
หรือตั้งแต่มีใบที่ 9 เป็นระยะเวลานาน 2 สัปดาห์ ในข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์แท้ พันธุ์ลูกผสม และพันธุ์ผสมเปิด
95