Page 107 -
P. 107

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




               ตารางที่ 4  วันออกดอกตัวเมีย 50% ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์ลูกผสมอายุเก็บเกี่ยวยาว ในสภาพที่มีอัตราการให้น้ำ
                           ต่างกัน ณ ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ ปี 2562
                                                        วันออกดอกตัวเมีย 50% (วันหลังปลูก)
                                        น้ำฝน             ให้น้ำ 50%ETc        ให้น้ำ 100%ETc




                พันธุ์              (475.9 มิลลิเมตร)       (619.9 มิลลิเมตร)     (763.9 มิลลิเมตร)       เฉลี่ย
                พันธุ์ NSX102005          49                   50                    50              49  c
                พันธุ์ NSX112017          50                   50                    50              50  c
                พันธุ์ NS3                53                   53                    53              53  a
                พันธุ์ CP888New           52                   51                    51              51  b

                Mean                      51                   51                    51              51
               CV (การให้น้ำ) 1.57%, CV (พันธุ์) 2.38%, F-test : การให้น้ำ (ns), พันธุ์ (P<0.01), การให้น้ำxพันธุ์ (ns)
               ค่าเฉลี่ยที่ตามด้วยตัวอักษรเหมือนกันในคอลัมน์เดียวกัน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) โดย DMRT

                       จำนวนต้นและฝักที่เก็บเกี่ยวของข้าวโพดทั้ง 4 พันธุ์ และที่ได้รับปริมาณน้ำทั้ง 3 ระดับ ไม่แตกต่างกันทางสถิติ
               โดยมีจำนวนต้นเก็บเกี่ยวเฉลี่ย 10,330 ต้นต่อไร่ (ตารางที่ 5) และจำนวนฝักเก็บเกี่ยวเฉลี่ย 9,909 ฝักต่อไร่ (ตารางที่ 6)
                       น้ำหนักสดต้น และน้ำหนักสดซัง มีความแตกต่างกันภายใต้การจัดการน้ำทั้ง 3 ระดับ โดยข้าวโพดที่ได้รับ
               ปริมาณน้ำ 763.9 มิลลิเมตรต่อฤดูปลูก ให้น้ำหนักสดต้น และน้ำหนักสดซัง มากกว่าข้าวโพดที่ได้รับปริมาณน้ำ 619.9
               และ 475.9 มิลลิเมตรต่อฤดูปลูก ตามลำดับ และพบความแตกต่างระหว่างพันธุ์ต่อน้ำหนักสดต้น และน้ำหนักสดซัง โดย
               พันธุ์ NSX102005 พันธุ์นครสวรรค์ 3 และพันธุ์ซีพี 888นิว มีน้ำหนักสดต้นเฉลี่ยอยู่ในช่วง 1,635 – 1,744 กิโลกรัมต่อไร่
               และน้ำหนักสดซังเฉลี่ยอยู่ในช่วง 184 - 201 กิโลกรัมต่อไร่ มากกว่าพันธุ์ NSX112017 ซึ่งมีน้ำหนักสดต้นและซังเฉลี่ย
               1,058 และ 133 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ (ตารางที่ 7 และ 8)
                       สำหรับน้ำหนักสดเมล็ด พบว่า ข้าวโพดที่ได้รับปริมาณน้ำ 763.9 มิลลิเมตรต่อฤดูปลูก มีน้ำหนักเมล็ดเฉลี่ย
               1,100 มิลลิเมตร มากกว่าข้าวโพดที่ได้รับปริมาณน้ำ 619.9 และ 475.9 มิลลิเมตรต่อฤดูปลูก ซึ่งให้น้ำหนักสดเมล็ดเฉลี่ย
               997   และ 836 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ในขณะที่พันธุ์ซีพี 888 นิว มีน้ำหนักสดเมล็ดสูงสุด เฉลี่ย 1,138 กิโลกรัมต่อไร่
               รองลงมาเป็นพันธุ์นครสวรรค์ 3 และพันธุ์ NSX102005 ที่ให้น้ำหนักสดเมล็ดเฉลี่ย 966 และ 953 กิโลกรัมต่อไร่
               ตามลำดับ ส่วนพันธุ์ NSX112017 มีน้ำหนักสดเมล็ดต่ำที่สุด เฉลี่ย 853 กิโลกรัมต่อไร่ (ตารางที่ 9)
                       เปอร์เซ็นต์กะเทาะของข้าวโพดภายใต้การจัดการน้ำทั้ง 3 ระดับ ไม่แตกต่างกัน แต่พบความแตกต่างระหว่าง

               พันธุ์ โดยพันธุ์ NSX112017 และพันธุ์ซีพี 888 นิว มีเปอร์เซ็นต์กะเทาะสูงสุด เฉลี่ย 86.7 และ 86.2เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
               ในขณะที่พันธุ์ NSX102005 และพันธุ์นครสวรรค์ 3 มีเปอร์เซ็นต์กะเทาะน้อยกว่า เฉลี่ย 83.5 และ 82.9 เปอร์เซ็นต์
               ตามลำดับ (ตารางที่ 10)
                       ปริมาณน้ำที่ข้าวโพดได้รับมีผลต่อความชื้นของเมล็ดข้าวโพดอย่างมีนัยสำคัญ โดยข้าวโพดที่ได้รับปริมาณน้ำ
               619.9 และ 763.9 มิลลิเมตรต่อฤดูปลูก ทำให้มีความชื้นเมล็ดเฉลี่ย 20.6 และ 21.2 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ มากกว่า
               ข้าวโพดที่ได้รับปริมาณน้ำ 475.9 มิลลิเมตรต่อฤดูปลูก ที่มีความชื้นเมล็ด 19.6 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้เนื่องจากข้าวโพดที่ได้รับ
               ปริมาณน้ำในระดับที่เพียงพอต่อความต้องการจะมีการดูดใช้น้ำไปสะสมอยู่ในส่วนต่างๆ ได้มากกว่า และเมื่อเปรียบเทียบ
               ระหว่างพันธุ์พบว่า พันธุ์นครสวรรค์ 3 พันธุ์ซีพี 888 นิว และพันธุ์ NSX102005 มีความชื้นเมล็ดเฉลี่ย 21.3  21.2  และ
               20.5 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ มากกว่าพันธุ์ NSX112017 ซึ่งมีความชื้นเมล็ดเฉลี่ย 18.9 เปอร์เซ็นต์ (ตารางที่ 11)
                       ในขณะที่น้ำหนัก 100 เมล็ด ในกรรมวิธีที่ข้าวโพดได้รับปริมาณน้ำ 763.9 มิลลิเมตรต่อฤดูปลูก มีน้ำหนัก 100
               เมล็ด สูงสุด เฉลี่ย 28.8 กรัม รองลงมาเป็นกรรมวิธีที่ได้รับน้ำ 619.9 และ 475.9 มิลลิเมตรต่อฤดูปลูก เฉลี่ย 26.7 และ
               24.0 กรัม ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างพันธุ์พบว่า พันธุ์ NSX102005 พันธุ์นครสวรรค์ 3 และ



                                                           99
   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112