Page 111 -
P. 111
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ตารางที่ 12 น้ำหนัก 100 เมล็ด ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์ลูกผสมอายุเก็บเกี่ยวยาว ในสภาพที่มีอัตราการให้น้ำต่างกัน
ณ ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ ปี 2562
น้ำหนัก 100 เมล็ด (กรัม)
น้ำฝน ให้น้ำ 50%ETc ให้น้ำ 100%ETc
พันธุ์ (475.9 มิลลิเมตร) (619.9 มิลลิเมตร) (763.9 มิลลิเมตร) เฉลี่ย
พันธุ์ NSX102005 25.6 26.8 30.4 27.6 a
พันธุ์ NSX112017 19.2 24.2 24.1 22.5 b
พันธุ์ NS3 25.3 27.5 30.2 27.7 a
พันธุ์ CP888New 25.8 28.4 30.4 28.2 a
Mean 24.0 c 26.7 b 28.8 a 26.5
CV (การให้น้ำ) 8.80%, CV (พันธุ์) 4.60%, F-test : การให้น้ำ (P<0.01), พันธุ์ (P<0.01), การให้น้ำxพันธุ์ (ns)
ค่าเฉลี่ยที่ตามด้วยตัวอักษรเหมือนกันในคอลัมน์เดียวกัน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) โดย DMRT
ตารางที่ 13 ผลผลิตเมล็ดที่ความชื้น 15% ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์ลูกผสมอายุเก็บเกี่ยวยาว ในสภาพที่มีอัตราการให้
น้ำต่างกัน ณ ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ ปี 2562
ผลผลิตเมล็ด (กก./ไร่)
น้ำฝน ให้น้ำ 50%ETc ให้น้ำ 100%ETc
พันธุ์ (475.9 มิลลิเมตร) (619.9 มิลลิเมตร) (763.9 มิลลิเมตร) เฉลี่ย
พันธุ์ NSX102005 804 865 1,002 890 b
พันธุ์ NSX112017 723 827 890 813 c
พันธุ์ NS3 738 945 1,000 894 b
พันธุ์ CP888New 894 1,084 1,184 1,054 a
Mean 790 c 930 b 1,019 a 913
CV (การให้น้ำ) 5.60%, CV (พันธุ์) 8.08%, F-test : การให้น้ำ (P<0.01), พันธุ์ (P<0.01), การให้น้ำxพันธุ์ (ns)
ค่าเฉลี่ยที่ตามด้วยตัวอักษรเหมือนกันในคอลัมน์เดียวกัน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) โดย DMRT
2. ประสิทธิภาพการใช้น้ำของข้าวโพด
ผลการศึกษาประสิทธิภาพการใช้น้ำของข้าวโพดที่ปลูกภายใต้สภาพความชื้นที่แตกต่างกัน 3 ระดับ พบว่า
ข้าวโพดที่ปลูกโดยอาศัยน้ำฝนที่ได้รับน้ำฝนตลอดฤดูปลูก 475.9 มิลลิเมตร มีประสิทธิภาพการใช้น้ำในการสร้างผลผลิต
สูงที่สุด 1.66 กิโลกรัมผลผลิตต่อปริมาณน้ำที่ได้รับ 1 มิลลิเมตร ในขณะที่ข้าวโพดที่ได้รับน้ำ 619.9 มิลลิเมตรต่อฤดูปลูก
มีประสิทธิภาพการใช้น้ำรองลงมา เท่ากับ 1.50 กิโลกรัมผลผลิตต่อปริมาณน้ำที่ได้รับ 1 มิลลิเมตร และข้าวโพดที่ได้รับน้ำ
763.9 มิลลิเมตรต่อฤดูปลูก มีประสิทธิภาพการใช้น้ำต่ำที่สุด 1.30 กิโลกรัมผลผลิตต่อปริมาณน้ำที่ได้รับ 1 มิลลิเมตร
เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้น้ำของข้าวโพดทั้ง 4 พันธุ์ พบว่า พันธุ์ CP888New มีประสิทธิภาพการใช้น้ำสูงที่สุด
1.73 กิโลกรัมผลผลิตต่อปริมาณน้ำที่ได้รับ 1 มิลลิเมตร รองลงมาเป็นพันธุ์ NSX102005 ซึ่งมีประสิทธิภาพการใช้น้ำ 1.47
กิโลกรัมผลผลิตต่อปริมาณน้ำที่ได้รับ 1 มิลลิเมตร พันธุ์นครสวรรค์ 3 ซึ่งมีประสิทธิภาพการใช้น้ำ 1.46 กิโลกรัมผลผลิตต่อ
ปริมาณน้ำที่ได้รับ 1 มิลลิเมตร ส่วนพันธุ์ NSX112017 มีประสิทธิภาพการใช้น้ำต่ำที่สุด 1.34 กิโลกรัมผลผลิตต่อปริมาณ
น้ำที่ได้รับ 1 มิลลิเมตร (ตารางที่ 14) ซึ่งจะเห็นได้ว่าประสิทธิภาพการใช้น้ำของข้าวโพดลูกผสมทั้ง 4 พันธุ์ที่ปลูกในดิน
ร่วนเหนียวปนทรายแป้งชุดดินสมอทอด จังหวัดนครสวรรค์ ค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับประสิทธิภาพการใช้น้ำของ
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมสามทางพันธุ์ Mamaba และข้าวโพดพันธุ์ผสมเปิดพันธุ์ Golden Crystal และพันธุ์ Obatanpa
ที่ปลูกในดินร่วนปนทราย ที่มีประสิทธิภาพการใช้น้ำอยู่ในช่วง 2.08-3.04 กิโลกรัมผลผลิตต่อการใช้น้ำ 1 มิลลิเมตร
(Asare et al., 2011) ทั้งนี้ต้องพิจารณารูปแบบการกระจายตัวของฝนประกอบด้วย หากฝนตกในปริมาณที่มากกว่าที่ดิน
103