Page 116 -
P. 116
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ผลผลิตและเปอร์เซ็นต์แป้งในหัวมันสำปะหลังได้ และยังลดการเกิดสารประกอบไซยาไนด์ในหัวมันสำปะหลัง การดูดใช้
(uptake) P และ K ของหัวมันสำปะหลังมีความสัมพันธ์กับผลผลิตมากกว่าการดูดใช้ไนโตรเจน (Howeler, 2002 ;
สมพงษ์ และ อนุชิต, 2547 ; วัลลีย์ และคณะ, 2557) จากยุทธศาสตร์ที่ต้องการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น มากกว่า 5 ตัน
ต่อไร่ จำเป็นต้องรู้และพิจารณาเลือกใช้พันธุ์และการลงทุนที่ต่ำสุดระหว่างปัจจัยที่ใช้ในแต่ละพื้นที่ อัจฉราและคณะ
(2551) ได้ศึกษาการเปรียบเทียบพันธุ์ต่างๆ ได้แก่ 1) พันธุ์ที่เกษตรกรในแต่ละท้องที่นิยมปลูก ได้แก่ ระยอง 5 ระยอง 72
เกษตรศาสตร์ 50 หรือ ห้วยบง 60 2) พันธุ์ระยอง 7 3) พันธุ์ระยอง 9 และ4) พันธุ์ระยอง 11 ใน 9 ชุดดิน ได้แก่ ชุดดิน
น้ำพอง สัตหีบ โคราช สตึก-ตื้น วารินกำแพงแสน สีคิ้ว วังไฮ และตาคลี ใน 10 จังหวัด พบว่า พันธุ์ระยอง 9 ให้ผลผลิต
สูงสุด เฉลี่ย 4.1 4.5 5.8 และ 6.4 กิโลกรัมต่อไร่ ในชุดดินน้ำพอง สีคิ้ว สัตหีบและโคราช (จังหวัดร้อยเอ็ด) ตามลำดับ
พันธุ์ระยอง 72 ให้ผลผลิตสูงสุด เฉลี่ย 6.9 กิโลกรัมต่อไร่ ในชุดดินสตึก-ตื้น พันธุ์ระยอง 5 ให้ผลผลิตสูงสุดเฉลี่ย 7.1
กิโลกรัมต่อไร่ ในชุดดินโคราช (จังหวัดปราจีนบุรี) และพันธุ์ระยอง 11 ให้ผลผลิตสูงสุด เฉลี่ย 6.3 6.9 7.6 และ 7.7
กิโลกรัมต่อไร่ ในชุดดินวาริน วังไฮ ตาคลีและกำแพงแสน ตามลำดับ
จากแนวนโยบายที่ต้องการเพิ่มผลผลิตต่อไร่จาก 3.7 ตัน ในปี 2550 เป็น 5 ตันต่อไร่ โดยไม่ต้องขยายพื้นที่ปลูก
แต่ให้มุ่งเน้นการจัดการที่เหมาะสม การปลูกมันสำปะหลังของเกษตรกรส่วนใหญ่ขาดการจัดการดินและปุ๋ยที่เหมาะสม ทำ
ให้ผลผลิตโดยรวมของประเทศอยู่ในเกณฑ์ต่ำ และดินที่ปลูกมันสำปะหลัง ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 เป็นดินที่มีเนื้อ
ดินเป็นดินทรายถึงร่วนปนทราย นอกนั้นจะเป็นดินที่มีเนื้อดินร่วนถึงร่วนเหนียว (กอบเกียรติ และคณะ, 2554) การปลูก
มันสำปะหลังอย่างต่อเนื่อง มีแนวโน้มทำให้ดินเสื่อมโทรมลงทุกๆปี (ชุมพล และคณะ, 2550; โชติ และคณะ, 2539)
ดังนั้นการจัดการปุ๋ยอย่างเหมาะสมจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการรักษาศักยภาพของดินในการผลิตพืช ซึ่งการจัดการปุ๋ย
นั้นอาจมีความแตกต่างกันในมันสำปะหลังแต่ละพันธุ์และแต่ละสภาพพื้นที่ เนื่องจากมันสำปะหลังแต่ละพันธุ์มี
ประสิทธิภาพการใช้ธาตุอาหารที่แตกต่างกัน วัลลีย์ และคณะ (2555) ทำการปลูกมันสำปะหลัง 3 พันธุ์ ในดินทราย ชุด
ดินสัตหีบ จังหวัดระยอง พบว่า มันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 86-13 มีประสิทธิภาพการใช้ไนโตรเจนเพื่อสร้างผลผลิตสูงสุด
338 กิโลกรัมผลผลิตต่อ 1 กิโลกรัม N รองลงมาคือพันธุ์ระยอง 11 และระยอง 9 ที่มีประสิทธิภาพการใช้ไนโตรเจนเพื่อ
สร้างผลผลิต 318 และ 279 กิโลกรัมผลผลิตต่อ 1 กิโลกรัม N ตามลำดับ การศึกษาการตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยของมัน
สำปะหลังภายใต้สภาพแวดล้อมต่างๆ ทำให้ทราบได้ว่าต้องใส่ปุ๋ยเท่าใดเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของมันสำปะหลัง
และให้ผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ที่คุ้มค่าแก่การลงทุนมากที่สุด ซึ่งการพัฒนาสายพันธุ์มันสำปะหลังที่มีประสิทธิภาพ
สูงในการดูดใช้ธาตุอาหารเป็นแนวทางหนึ่งในการลดต้นทุนการผลิต ดังนั้นจึงควรดำเนินการวิจัยประสิทธิภาพการดูดใช้
ธาตุอาหารของพันธุ์มันสำปะหลังสายพันธุ์ต่างๆ ในแต่ละสภาพแวดล้อมและแหล่งปลูก เพื่อใช้ในการคัดเลือกพันธุ์ที่มี
ศักยภาพต่อ
108