Page 117 -
P. 117

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



                                                        วิธีดำเนินการ

               อุปกรณ์
                      1. ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 และพันธุ์ก้าวหน้าของกรมวิชาการเกษตร 1 พันธุ์ (พันธุ์ระยอง 11)
                       2. ปุ๋ยเคมี ได้แก่ ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) ปุ๋ยไดแอมโมเนียมฟอสเฟต (18-46-0) และปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ (0-0-60)
                       3. อุปกรณ์เก็บตัวอย่างดินและพืช สารเคมีสำหรับวิเคราะห์ดินและพืช
               วิธีการ
                       ดำเนินการทดลองในพื้นที่ดินร่วนปนเหนียว ชุดดินวังไฮ แปลงทดลองศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ อำเภอตากฟ้า จังหวัด
               นครสวรรค์ พิกัดที่ตั้ง UTM 47 P 066169  170084  วางแผนการทดลองแบบ Split plot มี 3 ซ้ำ ประกอบด้วย 2
                                                 E
                                                         N
               การทดลองย่อย ได้แก่

                       1) ศึกษาประสิทธิภาพการใช้ไนโตรเจนของมันสำปะหลังสายพันธุ์ก้าวหน้าในกลุ่มดินร่วนปนเหนียว
                              ปัจจัยหลัก พันธุ์มันสำปะหลัง ได้แก่
                                     1. มันสำปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50
                                     2. มันสำปะหลังสายพันธุ์ก้าวหน้าของกรมวิชาการเกษตร (พันธุ์ระยอง 11)
                              ปัจจัยรอง ปุ๋ยไนโตรเจน 5 อัตรา ได้แก่
                                     1. ไม่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน (0 กิโลกรัม N-P 2O 5-K 2O/ไร่)
                                     2. ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 0.5 เท่าของค่าวิเคราะห์ดิน (4 กิโลกรัม N/ไร่)
                                     3. ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 1.0 เท่าของค่าวิเคราะห์ดิน (8 กิโลกรัม N/ไร่)
                                     4. ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 1.5 เท่าของค่าวิเคราะห์ดิน (12 กิโลกรัม N/ไร่)
                                     5. ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 2.0 เท่าของค่าวิเคราะห์ดิน (16 กิโลกรัม N/ไร่)
                       โดยทุกกรรมวิธีใส่ปุ๋ยฟอสเฟต และปุ๋ยโพแทชตามค่าวิเคราะห์ดินในอัตรา 8 กิโลกรัม P 2O 5 ต่อไร่ และ 8
               กิโลกรัม K 2O ต่อไร่ จากผลการวิเคราะห์ดิน (Table 1) พบว่า ดินมีปริมาณอินทรียวัตถุอยู่ในระดับปานกลาง 1.35
               เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่ำ 12 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ปานกลาง 75
               มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม อัตราปุ๋ยที่ได้ตามคำแนะนำของค่าวิเคราะห์ดินคือ 8-8-8 กิโลกรัม N-P 2O 5-K 2O ต่อไร่

                       2) ศึกษาประสิทธิภาพการใช้โพแทสเซียมของมันสำปะหลังสายพันธุ์ก้าวหน้าในกลุ่มดินร่วนปนเหนียว
                              ปัจจัยหลัก พันธุ์มันสำปะหลัง ได้แก่
                                     1. มันสำปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50
                                     2. มันสำปะหลังสายพันธุ์ก้าวหน้าของกรมวิชาการเกษตร (พันธุ์ระยอง 11)
                              ปัจจัยรอง ปุ๋ยโพแทสเซียม 5 อัตรา ได้แก่
                                     1. ไม่ใส่ปุ๋ยโพแทช (0 กิโลกรัม K 2O /ไร่)
                                     2. ใส่ปุ๋ยโพแทช 0.5 เท่าของค่าวิเคราะห์ดิน (4 กิโลกรัม K 2O/ไร่)
                                     3. ใส่ปุ๋ยโพแทช 1.0 เท่าของค่าวิเคราะห์ดิน (8 กิโลกรัม K 2O/ไร่)
                                     4. ใส่ปุ๋ยโพแทช 1.5 เท่าของค่าวิเคราะห์ดิน (12 กิโลกรัม K 2O/ไร่)
                                     5. ใส่ปุ๋ยโพแทช 2.0 เท่าของค่าวิเคราะห์ดิน (16 กิโลกรัม K 2O/ไร่)
                       โดยทุกกรรมวิธีใส่ปุ๋ยไนโตรเจน และปุ๋ยฟอสเฟตตามค่าวิเคราะห์ดินในอัตรา 8 กิโลกรัม N ต่อไร่ และ 8
               กิโลกรัม P 2O 5 ต่อไร่ จากผลการวิเคราะห์ดิน (Table 1) พบว่า ดินมีปริมาณอินทรียวัตถุอยู่ในระดับปานกลาง 1.35
               เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่ำ 12 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ปานกลาง 75
               มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม อัตราปุ๋ยที่ได้ตามคำแนะนำของค่าวิเคราะห์ดินคือ 8-8-8 กิโลกรัม N-P 2O 5-K 2O ต่อไร่





                                                          109
   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122