Page 115 -
P. 115

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



               increased agronomic efficiency of Kasetsart 50 variety but that application of potash fertilizer at the
               rate of 12 kg K 2O/rai gave the most economic return.

               Key words: Nitrogen, Potassium, Fertilizer, Cassava, Nutrient use efficiency (NUE)
                                                         บทคัดย่อ

                       ศึกษาประสิทธิภาพการใช้ธาตุอาหารของมันสำปะหลังสายพันธุ์ก้าวหน้าเพื่อผลผลิตและแป้งสูง ในกลุ่มดินร่วน
               ปนเหนียว ชุดดินวังไฮ ดำเนินการทดลอง ณ ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ในปี 2560-2561 วางแผนการ
               ทดลองแบบ Split plot มี 3 ซ้ำ ประกอบด้วย 2 การทดลองย่อย ได้แก่ 1) ศึกษาประสิทธิภาพการใช้ไนโตรเจนของมัน
               สำปะหลังสายพันธุ์ก้าวหน้าในกลุ่มดินร่วนปนเหนียว ปัจจัยหลักประกอบด้วย มันสำปะหลัง 2 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์
               เกษตรศาสตร์ 50 และพันธุ์ระยอง 11 ปัจจัยรอง คือ ปุ๋ยไนโตรเจน 5 อัตรา ได้แก่ 0, 4, 8, 12 และ 16 กิโลกรัม N ต่อไร่ โดย
               ทุกกรรมวิธีใส่ปุ๋ยฟอสเฟต และปุ๋ยโพแทชตามค่าวิเคราะห์ดินในอัตรา 8 กิโลกรัม P 2O 5 ต่อไร่ และ 8 กิโลกรัม K 2O ต่อไร่
               2) ศึกษาประสิทธิภาพการใช้โพแทสเซียมของมันสำปะหลังสายพันธุ์ก้าวหน้าในกลุ่มดินร่วนปนเหนียว ปัจจัยหลัก
               ประกอบด้วย มันสำปะหลัง 2 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 และพันธุ์ระยอง 11 ปัจจัยรอง คือ ปุ๋ยโพแทสเซียม 5
               อัตรา ได้แก่ 0, 4, 8, 12 และ 16 กิโลกรัม K 2O ต่อไร่ โดยทุกกรรมวิธีใส่ปุ๋ยไนโตรเจน และปุ๋ยฟอสเฟตตามค่าวิเคราะห์
               ดินในอัตรา 8 กิโลกรัม N ต่อไร่ และ 8 กิโลกรัม P 2O 5 ต่อไร่
                       ผลการทดลอง พบว่า การใช้พันธุ์และปุ๋ยเคมี ไม่มีปฏิสัมพันธ์กัน และมันสำปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 และ
               พันธุ์ระยอง 11 ให้ผลผลิตหัวสดและผลผลิตแป้งไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนการตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ย
               ไนโตรเจนของมันสำปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 และพันธุ์ระยอง 11 มีการตอบสนองต่อไนโตรเจนที่อัตรา 12 และ 16
               กิโลกรัม N ต่อไร่ โดยให้ผลผลิตหัวสดสูงสุดเฉลี่ย 3,848 และ 3,942 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ การตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ย

               โพแทชของมันสำปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 และพันธุ์ระยอง 11 มีการตอบสนองต่อปุ๋ยโพแทชที่อัตรา 12 และ 4
               กิโลกรัม K 2O ต่อไร่ โดยให้ผลผลิตหัวสดสูงสุดเฉลี่ย 4,512 และ 4,148 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่า การ
               ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในอัตรา 4 กิโลกรัม N ต่อไร่ ส่งเสริมให้มันสำปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 มีประสิทธิภาพการใช้
               ไนโตรเจนในการสร้างผลผลิตสูงและให้ผลตอบแทนคุ้มค่าแก่การลงทุนมากที่สุด ส่วนการใส่ปุ๋ยโพแทชในอัตรา 4 กิโลกรัม
               K 2O ต่อไร่ ส่งเสริมให้มันสำปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 มีประสิทธิภาพการใช้ไนโตรเจนในการสร้างผลผลิตสูงแต่ใน
               ขณะที่การใส่ปุ๋ยโพแทชอัตรา 12 กิโลกรัม K 2O ต่อไร่ ให้ผลตอบแทนคุ้มค่าแก่การลงทุนมากที่สุด
               คำสำคัญ: ไนโตรเจน, โพแทสเซียม, ธาตุอาหาร, ปุ๋ย, มันสำปะหลัง, ประสิทธิภาพการใช้ธาตุอาหาร

                                                           คำนำ
                       มันสำปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีศักยภาพสูง ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตมันเส้น/มันอัดเม็ด และแป้งมัน
               สำปะหลัง ก่อให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น  อุตสาหกรรมกระดาษ อุตสาหกรรมการหมัก (ผงชูรส กรดไลซิน) และ
               อุตสาหกรรมอาหาร  เป็นต้น  นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มความต้องการมันสำปะหลังเพื่อผลิตพลังงาน  และผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ
               เพิ่มขึ้น เช่น ไบโอพลาสติก กรดแล็กติก  ในปี 2560/2561 มีพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด 8.92 ล้านไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 30 ล้าน
               ตัน กระจายอยู่ตามภาคต่าง ๆ คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ปลูกประมาณ 4.81 ล้านไร่ ภาคกลางประมาณ 2.13
               ล้านไร่ ภาคเหนือประมาณ 1.98 ล้านไร่ ส่วนภาคตะวันออกประมาณ 1.47 ล้านไร่ ผลผลิตมันสำปะหลังเฉลี่ย 3,499
               กิโลกรัมต่อไร่ (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2560)

                       ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) เป็นธาตุที่มีความสำคัญต่อผลผลิตของหัวมันสำปะหลัง
               แม้ว่ามันสำปะหลังจะสามารถเจริญเติบโตได้ในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ แต่ปริมาณและคุณภาพของผลผลิตอยู่ใน
               ระดับต่ำ การใส่ปุ๋ย N  P และ K ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากไนโตรเจน และฟอสฟอรัสมีผลต่อการเจริญเติบโตทางลำ
               ต้นและใบ ต่อดัชนีพื้นที่ใบและการสังเคราะห์แสงของมันสำปะหลัง (Pellet and Mabrouk, 1993) โพแทสเซียมช่วย
               ส่งเสริมการเคลื่อนย้ายแป้งมาสะสมที่หัวมันสำปะหลัง Howeler (1998) พบว่า การใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมสามารถเพิ่ม


                                                          107
   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119   120