Page 118 -
P. 118

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



               Table 1 Basic soil properties before planting
               Parameters                                         0-20 cm                   20-50 cm
               Soil pH(1:1)                                        4.78                       4.46

               Organic matter(%)                                   1.35                       0.87

               Available phosphorus(mg/kg)                          12                          5

               Exchangeable potassium (mg/kg)                       75                         64
               Soil texture                                      Clay loam                  Clay loam
                   - Sand (%)                                      31.5                       29.5
                   - Silt (%)                                      33.5                       37.0
                   - Clay (%)                                      35.0                       33.5

                       ไถเตรียมดินและเตรียมแปลงย่อยขนาด 8.0 x 7.0 เมตร พร้อมเก็บตัวอย่างดินทุกแปลงย่อย วิเคราะห์สมบัติทาง
               กายภาพและเคมีของดิน ปลูกมันสำปะหลังจำนวน 1 ต้นต่อหลุม ระยะปลูก 1.0 x 0.70 เมตร (จำนวน 8 แถว ๆ ละ 7
               เมตร) ใส่ปุ๋ยเคมีตามกรรมวิธีที่กำหนดเมื่อดินมีความชื้นเหมาะสมในขณะที่มันสำปะหลังอายุ 1-2 เดือน โดยโรยบริเวณ
               ข้างหลุมปลูกแล้วใช้ดินกลบ ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดวัชพืชตามความจำเป็น เก็บเกี่ยวมันสำปะหลังที่อายุ 11-12
               เดือน เก็บตัวอย่างพืชที่อายุเก็บเกี่ยว นำมาวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารในส่วนต่างๆของมันสำปะหลัง ได้แก่ ต้น ใบ เหง้า
               และหัว วิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหาร ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม วิเคราะห์สมบัติทางกายภาพและเคมี
               ของดินก่อนและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ 1) เนื้อดิน โดยวิธี Hydrometer method 2) pH ใช้อัตราส่วนดินต่อน้ำเท่ากับ 1:1 3)
               อินทรียวัตถุโดยวิธี Walkley and Black method 4) ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์โดยวิธี Bray II แล้ววิเคราะห์การเกิดสี
               ด้วยวิธี molybdenum blue และ 5) โพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้โดย NH 4OAc, pH 7 (กรมวิชาการเกษตร, 2544)
                       วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยใช้ analysis of variance เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยใช้ Duncan’s

               New Multiple Range Test และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของธาตุอาหารพืชกับผลผลิต การตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ย
               ไนโตรเจน ปุ๋ยโพแทสเซียม และประสิทธิภาพการดูดใช้ธาตุอาหารของมันสำปะหลังในดินชุดต่าง ๆ
                       วิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ โดยใช้ Value to Cost Ratio (VCR)
                       รายได้สุทธิ (Gross return) = ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นจากกรรมวิธีควบคุม x ราคาผลผลิต
                     ผลตอบแทนสุทธิ (Net return)    = รายได้สุทธิ – ต้นทุนจากการใช้ปุ๋ยที่เพิ่มขึ้นจากกรรมวิธีควบคุม
                                     VCR           = รายได้สุทธิ / ต้นทุนจากการใช้ปุ๋ยที่เพิ่มขึ้นจากกรรมวิธีควบคุม
                     ถ้าค่า VCR มากกว่า 2 แสดงว่ามีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ (Pervaiz et al., 2004)
               ระยะเวลา              ตุลาคม 2560 – กันยายน 2561
               สถานที่ทำการทดลอง     1. แปลงทดลองศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์

                                     2. ห้องปฏิบัติการกลุ่มงานวิจัยเคมีดิน กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร












                                                          110
   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123