Page 121 -
P. 121

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



                       1.3 การตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนของมันสำปะหลัง
                              มันสำปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 มีการตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจนมากกว่าพันธุ์ระยอง 11 (Figure 1) โดย
               มันสำปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจนที่อัตรา 12 กิโลกรัม N ต่อไร่ ซึ่งการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนทำให้

               ผลผลิตหัวสดเพิ่มขึ้นจากไม่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 19.6 เปอร์เซ็นต์ (Table 6) โดยให้ผลผลิตหัวสดสูงสุดเฉลี่ย 3,848 กิโลกรัม
               ต่อไร่ ส่วนมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 11 ตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจนที่อัตรา 16 กิโลกรัม N ต่อไร่ โดยให้ผลผลิตเพิ่มจากไม่ใส่
               ปุ๋ยไนโตรเจน 23.7 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งให้ผลผลิตหัวสดเฉลี่ย 3,942 กิโลกรัมต่อไร่
               Table 6 Fresh Yield (kg/rai) of cassavas in Wang Hai soil series at Nakhon Sawan Province (rainy season
                        2017/2018)
                                           Kasetsart 50                              Rayong 11
               Applied N           Fresh Yield        Yield increase        Fresh Yield        Yield increase
               (kg N/rai)            (kg/rai)             (%)                 (kg/rai)              (%)
               0                     3,095                 -                  2,995                  -
               4                     3,829                19.2                3,619                 17.2
               8                     3,657                15.8                3,617                 17.2
               12                    3,848                19.6                3,343                 10.4
               16                    3,515                11.9                3,942                 23.7











                   Figure 1 Response of cassava to nitrogen fertilizer in Wang Hai soil series at Nakhon Sawan
                            Province (rainy season 2017/2018)
                       1.4 ปริมาณการดูดใช้ธาตุอาหารในส่วนต่างๆ ของมันสำปะหลัง

                              ปริมาณธาตุอาหารที่สะสมในส่วนต่างๆ ของมันสำปะหลัง พบว่า ไนโตรเจนสะสมในส่วนของใบมาก
               ที่สุด 16.31 กิโลกรัม N ต่อไร่ (Table 8) ปริมาณฟอสฟอรัสสะสมในส่วนของต้นมากที่สุด 1.61 กิโลกรัม P 2O 5 ต่อไร่
               (Table 7) และปริมาณโพแทสเซียมสะสมในส่วนของหัวมากที่สุด 9.38 กิโลกรัม K 2O ต่อไร่ (Table 10) แต่ในขณะที่มีการ
               สะสมของไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ในส่วนของเหง้าน้อยที่สุด (Table 9)
                              การดูดใช้ธาตุอาหารของมันสำปะหลังทั้ง 2 พันธุ์ มีปริมาณการดูดใช้ไนโตรเจนสูงที่สุด รองลงมาคือ
               ปริมาณการดูดใช้โพแทสเซียมและฟอสฟอรัส โดยพบว่า พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 มีปริมาณการดูดใช้ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส
               และโพแทสเซียมในทุกส่วนมีค่าโดยเฉลี่ย เท่ากับ 32.09 4.76 และ 23.66 กิโลกรัม N, P 2O 5, K 2O ต่อไร่ ตามลำดับ พันธุ์
               ระยอง 11 เท่ากับ 29.95 3.70 และ 23.76 กิโลกรัม N, P 2O 5, K 2O ต่อไร่ ตามลำดับ (Table 11)
                              การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนที่อัตราต่างๆ พบว่า การใส่ปุ๋ยที่อัตรา 16 กิโลกรัม N ต่อไร่ ส่งผลให้มันสำปะหลังพันธุ์
               เกษตรศาสตร์ 50 และพันธุ์ระยอง 11 ดูดใช้ไนโตรเจนสูงที่สุด 42.40 และ 31.94 กิโลกรัม N ต่อไร่ ตามลำดับ ในขณะที่การ



                                                          113
   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126